SAP S/4HANA Cloud Public Edition มีเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถปรับแต่งระบบซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับความต้องการธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนการทำงานของซอฟต์แวร์ที่การตั้งค่าทั่วไปไม่รองรับ การขยายโมเดลข้อมูล การปรับเปลี่ยนรูปแบบหน้าจอหรือรายงาน และการสร้างแอปพลิเคชันใหม่
โครงสร้างของ SAP S/4HANA Cloud ช่วยแยกการขยายฟังก์ชันออกจากระบบหลัก ทำให้ SAP สามารถอัปเกรดซอฟต์แวร์โดยไม่กระทบต่อการปรับแต่งของลูกค้า การปรับแต่งที่ไม่สามารถทำได้ในระบบหลักควรแยกไปทำบนแพลตฟอร์มอื่นอย่าง SAP Business Technology Platform (BTP) ที่มีความสามารถหลากหลายในการสร้างและเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน
Table of Contents
กรณีตัวอย่างการปรับแต่งระบบ (Extensibility Use Cases) ใน SAP S/4HANA Cloud
ความสามารถในการปรับแต่งระบบใน SAP S/4HANA Cloud Public Edition แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก
1) การปรับแต่งระบบภายในแอปพลิเคชัน (In-App Extensibility)
2) การปรับแต่งระบบแบบแยก (Side-by-Side Extensibility)
การปรับแต่งระบบภายในแอปพลิเคชัน (In-App Extensibility)
การปรับแต่งระบบ SAP S/4HANA Cloud โดยตรง คุณสามารถปรับแต่งได้ทั้งส่วนหน้าจอ (front-end) และ ระบบประมวลผล (back-end) โดยใช้เครื่องมือและฟังก์ชันที่มีอยู่ภายใน การปรับแต่งประเภทนี้แบ่งออกเป็นสองประเภทย่อยอีกด้วย
- การปรับแต่งระบบสำหรับผู้ใช้ทั่วไป (Key User Extensibility)
Customizing tenant ของระบบพัฒนาผ่านแอปพลิเคชัน SAP Fiori ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งเล็กน้อยแก่แอปพลิเคชัน รายงาน และแม่แบบอีเมลและฟอร์มโดยไม่ต้องใช้ทักษะการเขียนโปรแกรมใดๆ
- การปรับแต่งระบบโดยนักพัฒนา (Developer Extensibility)
Development tenant ของระบบพัฒนาผ่านสิ่งที่เรียกว่า สภาพแวดล้อม ABAP ของ SAP S/4HANA Cloud สภาพแวดล้อมนี้ช่วยให้นักพัฒนา ABAP สามารถเข้าถึงพื้นที่ควบคุมของระบบประมวลผล (back-end) ซึ่งอนุญาตให้ปรับเปลี่ยนอ็อบเจ็กต์ SAP ที่เผยแพร่ได้
การปรับแต่งระบบแบบแยก (Side-by-Side Extensibility) คือวิธีการปรับแต่งระบบที่แยกออกจากระบบหลักโดยการสร้างส่วนขยาย (extension) ในแพลตฟอร์มอื่นและทำการพัฒนาส่วนขยายเหล่านั้นเข้ากับ SAP S/4HANA Cloud ข้อดีที่สำคัญของการปรับแต่งระบบแบบแยกคือ ความมั่นคงตลอดวัฏจักรชีวิต (lifecycle stability) เนื่องจากส่วนขยายที่คุณพัฒนาจะทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มที่แตกต่างออกไป แม้จะมีการอัพเกรดระบบ SAP S/4HANA Cloud ในอนาคตส่วนขยายของคุณก็จะยังคงทำงานได้อย่างถูกต้อง โดยอาศัยการสื่อสารกับแอปพลิเคชันเป้าหมายผ่านการพัฒนา
แพลตฟอร์มการพัฒนาของ SAP คือ SAP Business Technology Platform (SAP BTP) ซึ่งรองรับทั้งการพัฒนาแบบ Low-Code/No-Code และการพัฒนาแบบใช้โค้ด ต่อไปเราจะมาดูโซลูชันการพัฒนาหลัก 2 แบบของ SAP BTP
- SAP Build เครื่องมือ Low-Code/No-Code ที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ผ่านแพ็คเกจ GROW with SAP ซึ่ง ประกอบด้วย
- Build Apps: สร้างแอปพลิเคชันเสริมที่ใช้งานง่ายและรวดเร็ว
- Build Process Automation: เครื่องมือสำหรับออกแบบและปรับกระบวนการทำงานอัตโนมัติ
- Build Work Zone: พื้นที่ทำงานแบบดิจิทัลที่ช่วยให้ผู้ใช้เชื่อมต่อและทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวก
- SAP Business Application Studio
เครื่องมือสำหรับนักพัฒนารองรับภาษาการเขียนโปรแกรมที่นิยมใช้ ได้แก่ Java, JavaScript, และ Python ช่วยให้สร้างและรันแอปพลิเคชันธุรกิจของ SAP โดยใช้ Cloud Application Programming (CAP) model มีชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDK) สำหรับกรณีใช้งานที่หลากหลาย
ตัวอย่างเช่น Java SDK, iOS mobile SDK, Android mobile SDK ช่วยให้นักพัฒนาเริ่มต้นใช้งานได้รวดเร็ว การใช้งาน SAP Business Application Studio ต้องมีการขออนุญาตสิทธิ์การใช้งานเพิ่มเติม
SAP Extensibility Explorer
เว็บไซต์ SAP Extensibility Explorer เป็นแหล่งข้อมูลที่ยอดเยี่ยมสำหรับการค้นหาตัวอย่างสถานการณ์และกรณีศึกษา รวมถึงแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เมื่อคุณต้องการใช้งานปรับแต่งระบบที่หลากหลาย
หลังจากสร้างส่วนเสริมที่กำหนดเองบนแพลตฟอร์ม SAP Business Technology Platform (SAP BTP) เสร็จสิ้น คุณจะต้องทำการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเป้าหมาย SAP S/4HANA Cloud Public Edition สามารถค้นหาเครื่องมือต่างๆ สำหรับการเชื่อมต่อระบบ เช่น API, อีเว้นท์, คอนเนคเตอร์ และอื่นๆ ได้ที่ SAP Business Accelerator Hub
Author/ Translator: Chayanon T.