ทำความรู้จัก Low-Code สุดยอดเครื่องมือสร้างแอปพลิเคชันสำหรับองค์กร ที่ง่ายและรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ

โลกในการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วสำหรับธุรกิจในปัจจุบัน การนำรูปแบบการพัฒนา Low-Code และ No-Code เข้ามาประยุกต์ใช้กับธุรกิจภายในบริษัทจึงเป็นที่นิยมมากสำหรับธุรกิจในช่วงนี้ เพราะพนักงานสามารถพัฒนาระบบได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้พนักงานในองค์กรใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น ทำให้องค์กรรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในยุคที่ต้องใช้ความรวดเร็วเป็นตัวชี้วัดการอยู่รอดและเติบโตไปในทิศทางที่ดี

Low-Code Platform
Table of Contents

    ทำความรู้จัก Low-Code Platform ตัวช่วยที่จะทำให้องค์กรเติบโตได้รวดเร็ว 

    Low-Code

    ถ้าพูดถึง Low-Code คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญอันดับต้นๆ ที่ช่วยในการพัฒนา Application/Website โดยที่ไม่ต้องใช้ทักษะในด้านโปรแกรมมากนัก เพราะในตัวของโปรแกรมนั้นจะมีเครื่องมือให้เราเลือกใช้อย่างหลากหลายและค่อนข้างที่จะครอบคลุม ผู้ใช้งานเพียงแค่เลือกเครื่องมือแต่ละชิ้นในโปรแกรมมาใช้ในการสร้าง Application หรือ Website ที่ต้องการตามที่กำหนดไว้ แต่เบื้องต้นผู้พัฒนาอาจจะต้องมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับความสามารถของเครื่องมือชิ้นนั้นๆ เพื่อให้ได้ออกมาเป็น Application/Website ตามที่ต้องการ 

    จุดเด่นของ Low-Code Platform

    Low-Code Platform

    เนื่องจากมีโปรแกรมที่พร้อมใช้งานหลากหลายซอฟต์แวร์ ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและทุกคนสามารถพัฒนา Application ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับบริษัทที่ขาดแคลนบุคลากรด้าน IT เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้ง่าย จึงทำให้สามารถประหยัดทรัพยากรบุคคลได้ และที่สำคัญยังทำให้ทีมพัฒนานั้นสามารถไปโฟกัสกับโปรแกรมที่ยากและซับซ้อนได้มากยิ่งขึ้น 

    ประโยชน์ของ Low-Code Platform ตอบโจทย์การสร้างระบบองค์กรอย่างแท้จริง 

    1. ประหยัดเวลา: ทุกคนในทีมสามารถใช้ได้ แทนที่จะต้องรอแค่ทางทีมพัฒนาแค่ฝ่ายเดียวอาจจะทำให้ใช้เวลาการพัฒนาแอปนานไปด้วย ฉะนั้น หากพนักงานแต่ละแผนกสามารถสร้างเองได้ก็จะทำให้แอปใช้งานได้ไวยิ่งขึ้น 
    1. เพิ่มประสิทธิภาพ ลดช่องว่างในการสร้างการทำงานร่วมกัน: ลดภาระงานของนักพัฒนาเพื่อให้สามารถโฟกัสไปที่การสร้างแอปที่ต้องมีการเขียนโค้ดที่ยากแทน และช่วยให้ทีมของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังให้ทีมทำงานร่วมกันผ่านโปรเจกต์นั้นๆ ได้
    1. การพัฒนาที่ยืดหยุ่นขึ้นกว่าเดิม: การใช้แพลตฟอร์มแบบ Low-Code เพื่อเปลี่ยนแอปได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องใช้เวลาในการเขียนโค้ดที่ยาวนาน ทำให้มีการจัดทำที่ง่าย สร้างและพัฒนาได้หลากหลายทำให้การทำงานยืดหยุ่นขึ้นกว่าเดิม
    1. ธุรกิจคล่องตัว สามารถปรับเปลี่ยนได้ว่องไว: ในยุคของปลาเร็วกินปลาใหญ่ สิ่งนี้จะช่วยให้การทำงานขององค์กรธุรกิจคล่องตัวมากขึ้น และสามารถปรับเปลี่ยนได้รวดเร็วอีกด้วย

    ตัวอย่าง Use Case ที่เหมาะสมกับการใช้ Low-Code Platform 

    การใช้งาน Low-Code นั้นเหมาะสมกับงานที่ไม่มีความซับซ้อนมาก เพื่อให้ได้ Application/Website ที่ถูกพัฒนาออกมาอย่างรวดเร็วและเหมาะสมกับธุรกิจ ตัวอย่างงานที่เหมาะสมกับการใช้งาน มีดังนี้ 

    1. แอปพลิเคชันภายในองค์กร (Internal Applications): การสร้างแอปพลิเคชันที่ใช้งานภายในองค์กร เช่น ระบบขาดลามาสาย, ระบบเข้า-ออกงาน, หรือระบบตรวจสอบข้อมูลสินค้าคงคลัง เป็นต้น 
    1. การทำ Rapid Application Development (RAD): โครงการที่ต้องการสร้างแอปพลิเคชันโดยเร่งรีบ เพื่อรองรับการใช้งานอย่างทันท่วงที  Low-Code ก็สามารถช่วยดำเนินการให้ได้ตามเวลาที่กำหนด 
    1. การทำ Business Process Automation (BPA): การสร้างระบบอัตโนมัติที่ปรับใช้กับกระบวนการทางธุรกิจ, เช่น การอนุมัติเอกสาร, การจัดการโครงการ, หรือกระบวนการซื้อขาย

    ตัวอย่างเครื่องมือ Low-Code Platform ที่นิยมใช้งานอย่างแพร่หลาย

    ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่จัดอยู่ในกลุ่ม Low-Code หลาย Product ด้วยกัน โดยหนึ่งในตัวที่ได้รับความนิยมคือ Microsoft Power Apps สำหรับตัว Power Apps จะเป็น Product ตัวหนึ่งในกลุ่มของ MS Power Platform โดยในกลุ่มของ Power Platform นั้น ทาง Microsoft เองตั้งใจพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ในส่วนของเทคโนโลยี Low-Code Platform

    Low-Code Platform - Microsoft Power Apps

    สำหรับ Power Apps นั้น ถือเป็นเครื่องมือ ใช้สร้างแอปพลิเคชันธุรกิจและแอปพลิเคชันในองค์กรได้ และเป็นเครื่องมือที่มีฟีเจอร์ในการใช้งานหลากหลาย ตั้งแต่การทำ UX/UI ไปจนถึงการเชื่อมต่อกับ Database จึงทำให้เป็นที่นิยมอย่างมาก โดยที่ผู้พัฒนาแอปไม่ต้องมีความชำนาญในการเขียนโปรแกรมก็ได้

    ตัวอย่างของระบบ Power Apps 

    Low-Code Platform - Microsoft Power Apps

    ทำให้ใช้งานสามารถอย่างรวดเร็วและมีความคล่องตัวในการใช้งาน อีกทั้งเป็นเครื่องมือจากทาง Microsoft ทำให้สามารถเข้าใช้งานได้ง่ายและเสถียร นอกจากนี้ องค์กรหรือบริษัทที่กำลังมองหาตัวช่วยในการจัดทำระบบแอปพลิเคชันง่ายๆ และมี Microsoft 365 License อยู่แล้ว สามารถเข้าทดลองใช้งานได้ทันทีอีกด้วย

    หากต้องการคำปรึกษาหรือสอบถามรายละเอียด Low-Code Platform สามารถกรอกฟอร์มเพื่อนัดพูดคุยหรือแนะนำ Solution เพิ่มเติมได้ด้านล่างนี้

    References:
    รู้จัก Low-Code เครื่องมือช่วยสร้าง Application ต้นทุนต่ำสำหรับองค์กรรุ่นใหม่ 
    ทำไมการพัฒนาแบบ low-code จึงมีความสำคัญ 
    No code Low code คืออะไร: 10 เครื่องมือที่ดีที่สุดในปี 2024 

    Author: Chanakarn H. 

    แชร์ :
    Scroll to Top