ระบบ e-Tax ทางเลือกใหม่ของการส่งภาษีบน SAP

ในช่วงที่ผ่านมาเราจะเห็นนโยบายที่น่าสนใจอย่างเช่น โครงการลดหย่อนภาษี Easy e-Receipt ที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบธุรกิจเลยก็ว่าได้ เนื่องจากในโครงการนี้ ใบกำกับภาษีในรูปแบบกระดาษจะไม่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ ดังนั้น องค์กรที่ต้องการจะเข้าร่วมโครงการการจับจ่ายใช้สอยเพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษีนี้จำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทน ซึ่งจะเห็นว่าหลายองค์กรมีการปรับตัวตามและได้นำระบบ e-Tax เข้ามาใช้งาน แต่อย่างไรก็ตาม หากท่านยังเป็นหนึ่งในองค์กรที่กำลังเริ่มเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ระบบ e-Tax ก็ยังไม่สายที่จะเริ่มเช่นกัน 

Easy e-Receipt - e-Tax
Credit: The Mall
Table of Contents

    ทำความรู้จักระบบ e-Tax ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 

    หลายๆ ท่านน่าจะทราบเกี่ยวกับระบบ e-Tax กันมาบ้างแล้ว แต่ถ้าหากจะให้อธิบายอย่างง่าย e-Tax ก็คือ ใบกำกับภาษี รวมถึงใบเพิ่มหนี้ลดหนี้ต่างๆ ที่เปลี่ยนจากรูปแบบกระดาษให้มาอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์บนช่องทางออนไลน์ ผ่านการทำ Digital Certificate (CA) เช่น การลงลายชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือการประทับเวลา (Time Stamp) เพื่อเป็นการรับรองเอกสารตามรูปแบบของกรมสรรพากร เป็นต้น 

    ทำไมต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบ e-Tax แทนการใช้กระดาษ 

    จากโครงการภาษี Easy e-Receipt นั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ ตอนนี้ทางภาครัฐเองก็ต้องการที่จะผลักดันให้ภาคธุรกิจเข้าสู่ระบบ e-Tax เพื่อลดความผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพให้การจัดเก็บภาษีให้ง่ายขึ้น ซึ่งถ้าหากเปลี่ยนไปใช้ระบบ e-Tax นอกจากภาครัฐและภาคธุรกิจจะได้รับสิทธิประโยชน์แล้ว ทางผู้บริโภคยังได้ประโยชน์จากโครงการต่างๆ ของภาครัฐอีกด้วย และระบบนี้ก็ยังมีข้อดีมากมายอีกด้วยไม่ว่าจะเป็น 

    1. ลด Cost ไม่ว่าจะเป็นต้นทุน ค่ากระดาษ ค่าหมึก ค่าจัดส่งเอกสาร ค่าพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร หรือแม้กระทั่งต้นทุนทางเวลาในการจัดทำ 

    2. ลด Process ในกระบวนการการทำงาน ลดการทำงานแบบ Manual ที่เสี่ยงต่อการเกิด Human Error  

    3. เพิ่ม Security ในการใช้งาน จัดเก็บและจัดส่งเอกสาร ป้องกันการทุจริตหรือการปลอมแปลงเอกสาร รวมถึงสามารถตรวจสอบได้ง่าย และยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า 

    รูปแบบการนำส่ง e-Tax ให้สรรพากร ระบบของสรรพากรของประเทศไทยนั้นได้กำหนดรูปแบบการนำส่ง e-Tax ด้วยกันทั้งหมดสองรูปแบบ นั่นคือ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Tax Invoice by Email โดยแต่ละแบบจะมีรายละเอียดการจัดส่งแตกต่างกัน ดังนี้ 

     e-Tax Invoice & e-Receipt e-Tax Invoice by Email 
    รายได้องค์กร ไม่จำกัด มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี 
    รูปแบบไฟล์ XML หรือ PDF PDF/A-3 เท่านั้น 
    รูปแบบการรับรอง Digital Signature Time Stamp 
    Process 1. องค์กรจัดทำ e-Tax Invoice และ e-Receipt 
    2. ลง Digital Signature  
    3. นำส่งข้อมูลให้ลูกค้าและสรรพากร 
    1. องค์กรจัดทำแบบร่าง e-Tax Invoice  
    2. นำแบบร่างส่งลูกค้าและสำเนาไปยังสรรพากรเพื่อทำ Time Stamp ผ่านระบบ ETDA 
    3. ระบบ ETDA ส่ง e-Tax Invoice ให้ผู้ซื้อและผู้ขาย 
    e-Tax Invoice & e-Receipt 
    รูปแบบการจัดส่ง e-Tax Invoice & e-Receipt 
    e-Tax Invoice by Email 
    รูปแบบการจัดส่ง e-Tax Invoice by Email 

    ตัวอย่างการเชื่อม SAP กับระบบ e-Tax ปรับปรุงการดำเนินการทางภาษีของธุรกิจหรือองค์กร 

    ผู้ใช้ SAP ส่วนใหญ่จะมีปริมาณ Transaction จำนวนมาก ทำให้องค์กรขนาดใหญ่เลือกที่จะพัฒนาการยื่นภาษีมาอยู่ในรูปแบบของ e-Tax Invoice & e-Receipt ซึ่งองค์กรส่วนที่ใช้ระบบหลังบ้าน SAP โดยเบื้องต้นขั้นตอนการทำงานจะเริ่มจากจัดทำข้อมูลตามรูปแบบที่กำหนด จากนั้นจะส่งข้อมูลไปให้ทาง e-Tax Service Provider เพื่อประทับ Digital Signature และจัดส่งให้สรรพากรรวมถึงจัดส่งให้ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ 

    การจะเริ่มต้นทำระบบ e-Tax กับ SAP นั้นมีปัจจัยที่ควรคำนึงถึงทั้งในเรื่องของเวอร์ชั่น SAP ที่ใช้งานอยู่ และรูปแบบเดิมที่ใช้ออกใบกำกับภาษี รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งก็จะขอยกตัวอย่างความสามารถส่วนหนึ่งของ SAP และ SAP Business One เพื่อเป็นไอเดียในการหาโซลูชั่นที่เหมาะกับแต่ละองค์กร 

    ตัวอย่างการเชื่อมต่อระบบ SAP 

    SAP สามารถทำได้หลายวิธีโดยขึ้นอยู่กับความต้องการและระบบที่แต่ละองค์กรใช้งานอยู่ เนื่องจากระบบ SAP นั้นทำได้ตั้งแต่การออกเอกสาร e-Tax ในรูปแบบของ PDF และ XML รวมถึงการส่ง e-mail ออกไปก็สามารถทำได้ 

    ตัวอย่างการเชื่อมต่อระบบ SAP Business One 

    SAP Business One นั้นก็รองรับการส่งข้อมูล Raw Data ซึ่งก็สามารถที่จะจัดส่งข้อมูลได้หรือแม้กระทั่งการติดตั้ง Add-on ต่างๆ เพื่อช่วยร่วมด้วยก็ได้เช่นกัน 

    อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการจัดทำระบบคือ โครงสร้าง เวอร์ชั่นของ SAP และความต้องการของแต่ละองค์กรที่แตกต่างกัน ควรมีการวางแผนการจัดทำเพื่อเลือกโซลูชันที่ดีและเหมาะสมที่สุดให้กับแต่ละองค์กร สำหรับบริษัทที่สนใจติดตั้งระบบ e-Tax หรือปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำระบบสามารถติดต่อเพิ่มเติมเพื่อคุยกับทาง ZyGen คลิก

    Author: Chutima C.

    แชร์ :
    Scroll to Top