การแข่งขันทางธุรกิจที่ดุเดือดมากยิ่งขึ้น ทำให้ส่วนของ Supply Chain Management ที่ซับซ้อนไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายๆ อีกต่อไป เพราะธุรกิจต้องเจอกับความกดดันที่ถาโถมเข้ามาเรื่อยๆ ทั้งในด้านของการพัฒนาประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย และตอบสนองความต้องการในการส่งมอบสินค้าและบริการที่รวดเร็วให้กับลูกค้า ซึ่งในปัจจุบัน Automation จะเข้ามาผลิกเกมธุรกิจ ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อทำให้งานต่างๆ ของ Supply Chain เป็นอัตโนมัติ และช่วยปลดล็อกความสามารถในการทำงานมากมาย ตั้งแต่การเพิ่มความแม่นยำของกระบวนการทำงาน และเพิ่มผลผลิตเพื่อยกระดับการบริหารจัดการที่ดียิ่งขึ้น
ในบทความนี้ ZyGen จะนำคุณไปสำรวจกระบวนการและงานต่างๆ ใน Supply Chain Management ที่สามารถเปลี่ยนให้เป็นอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงประโยชน์ที่คุณจะได้รับจากการทำ Automation สำหรับ Supply Chain Management อีกด้วย
1. เพิ่มความสามารถในการคาดการณ์และวางแผนตามความต้องการที่อาจเกิดขึ้น
รับรู้ถึงความต้องการของลูกค้า: วิเคราะห์ข้อมูลการขายเรียลไทม์ ดูเทรนด์ในโซเชียลมีเดีย และพิจารณาปัจจัยภายนอกอื่นๆ เพื่อให้เห็นภาพความต้องการของลูกค้าอย่างชัดเจนได้แบบอัตโนมัติ
การคาดการณ์แบบอัตโนมัติ: ใช้เครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตและระบุแพทเทิร์นที่เกิดขึ้น นำไปสู่การคาดการณ์ที่เชื่อถือได้และการวางแผนการผลิตที่ดีมากยิ่งขึ้น
ระบุโอกาสในการขายและความเคลื่อนไหวของทรัพย์สินได้รวดเร็วขึ้น: ใช้งานระบบอัตโนมัติเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลัง และเทรนด์ของการขาย ทำให้คุณระบุโอกาสสำหรับการขายหรือการปรับปรุงสินทรัพย์ใหม่ได้ไวขึ้น
2. เพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนสินค้าคงคลังและการจัดหา
ระบบนับรอบอัตโนมัติ: เปลี่ยนให้กระบวนการนับรอบสินค้าคงคลังเป็นอัตโนมัติโดยการใช้โทรศัพท์มือถือหรือเครื่องสแกนบาร์โค้ด เพื่อลดระยะเวลาและจำนวนพนักงาน
ปรับเปลี่ยนระบบอัตโนมัติตามต้องการ: เชื่อมต่อระบบ ERP กับแอปพลิเคชันหรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อให้ข้อมูลส่งต่อได้อย่างราบรื่นและกำจัดข้อผิดพลาดในการป้อนข้อมูลด้วยตนเอง
การวิเคราะห์สินค้าคงคลัง: ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการวิเคราะห์อัตโนมัติเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกของปริมาณสินค้าคงคลัง ความผันผวนของความต้องการสินค้า และสินค้าที่กำลังจะหมด เพื่อให้เกิดการจัดการสินค้างคงคลังแบบเชิงรุก
การใช้งานและการเติมสินค้าคงคลัง: เติมสินค้าคงคลังโดยอัตโนมัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าสต็อกสินค้ามีพร้อมใช้ และป้องกันการสต็อกสินค้ามากหรือน้อยกว่าที่ควร
3. ปรับปรุงการทำงานของคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ
วางแผนคลังสินค้า: ใช้งานโปรแกรมอัตโนมัติเพื่อปรับตำแหน่งของคลังสินค้า เลือกเส้นทางและตำแหน่งจัดเก็บสินค้าจากขนาด น้ำหนัก และความต้องการของสินค้า นำไปสู่การบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการออเดอร์ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
จัดตำแหน่งให้สินค้าขาเข้าแบบอัตโนมัติ: ทำให้กระบวนการกำหนดสถานที่จัดเก็บสินค้าสำหรับสินค้าขาเข้าเป็นแบบอัตโนมัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและข้อผิดพลาดที่เกิดจากการทำแบบ Manual
ระบบตอบรับและยืนยันแบบรวดเร็ว: ใช้ระบบที่ทำงานแบบเรียลไทม์เพื่อให้ข้อเสนอแนะสำหรับการปฏิบัติตามคำสั่งซื้อและการยืนยันได้ทันที ช่วยปรับปรุงด้านความโปร่งใสและการสื่อสารภายในคลังสินค้า
ลิสต์รายการและคู่มือแบบดิจิทัล: เปลี่ยนคำสั่งที่อยู่บนกระดาษให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลด้วย OCR (Optical Character Recognition) เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาด และปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น
การบำรุงรักษาเชิงป้องกันและเชิงคาดการณ์: กำหนดเวลาการบำรุงรักษาเครื่องมือคลังสินค้าโดยอัตโนมัติตามข้อมูลการใช้งานหรือการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ เพื่อป้องกันการหยุดทำงานของเครื่องมือและมั่นใจได้ว่าการทำงานจะเป็นไปอย่างราบรื่น
การจัดตารางเวลาสำหรับรับสินค้าขาเข้า: กำหนดเวลาการส่งมอบและกระบวนการรับสินค้าขาเข้าโดยอัตโนมัติ เพิ่มความคล่องตัวในการไหลเวียนของสินค้าผ่านคลังสินค้า
4. ยกระดับการขนส่งและการจัดการการขนส่งสินค้า
การขนย้ายสินค้าอัจฉริยะ: ใช้เครื่องมืออัตโนมัติในการขนย้ายสินค้าขึ้น-ลงจากรถบรรทุก เพื่อความรวดเร็ว ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ
ลงตารางเวลาการรับสินค้าเข้าคลัง: จัดระยะเวลาสำหรับการรับสินค้าเข้าคลังแบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเวลาและป้องกันความล่าช้า
ติดตามพัสดุแบบเรียลไทม์: ให้ลูกค้าสามารถติดตามพัสดุแบบเรียลไทม์ได้เอง เพิ่มความโปร่งใสและความพึงพอใจของลูกค้า
ระบบตอบรับและยืนยันแบบรวดเร็ว: ใช้ระบบที่ทำงานแบบเรียลไทม์เพื่อให้ข้อเสนอแนะสำหรับการปฏิบัติตามคำสั่งซื้อและการยืนยันได้ทันที ช่วยปรับปรุงด้านความโปร่งใสและการสื่อสารภายในคลังสินค้า
ระบบอัตโนมัติสำหรับการใช้เชื้อเพลิง: ใช้ประโยชน์จากระบบการจัดการเชื้อเพลิงอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงและต้นทุน
ตรวจสอบค่าขนส่งสินค้า: ทำให้กระบวนการตรวจสอบค่าขนส่งสินค้าเป็นอัตโนมัติเพื่อให้มั่นใจว่า บิลค่าใช้จ่ายถูกต้อง และระบุโอกาสในการประหยัดค่าใช้จ่าย
การจัดการข้อยกเว้นอัตโนมัติ: ใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อระบุและแก้ไขข้อยกเว้นในการจัดส่งแบบเรียลไทม์ ช่วยลดความล่าช้าและการหยุดชะงักของการทำงาน
5. ลดความซับซ้อนในการจัดการสินทรัพย์
ติดตามอายุการใช้งานของสินทรัพย์อัตโนมัติ: ติดตามอายุการใช้งานของสินทรัพย์ของคุณ รวมถึงกำหนดการบำรุงรักษา การซ่อมแซม และการเปลี่ยนทดแทน ผ่านระบบอัตโนมัติ เพื่อให้แน่ใจว่าการสินทรัพย์ถูกใช้งานอย่างเหมาะสม และมีอายุการใช้งานที่ยืนยาว
บำรุงรักษาตามแผนที่วางไว้แบบอัตโนมัติ: กำหนดเวลาการบำรุงรักษาเชิงป้องกันสำหรับสินทรัพย์ของคุณโดยอัตโนมัติ ตามข้อมูลการใช้งานหรือช่วงเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อลดการหยุดทำงาน (Downtime) และต้นทุนการบำรุงรักษา
จัดการการใช้งานของสินทรัพย์: กำหนดเวลาและติดตามการใช้งานสินทรัพย์ของคุณอย่างมีประสิทธิภาพผ่านระบบอัตโนมัติ ป้องกันการใช้ทรัพยากรซ้ำซ้อน และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากร
การจัดการต้นทุนสินทรัพย์: เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับต้นทุนรวมของสินทรัพย์ที่คุณเป็นเจ้าของ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลอัตโนมัติ ช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลเมื่อต้องพิจารณาเกี่ยวกับการได้มา การบำรุงรักษา และการกำจัดสินทรัพย์
6. เพิ่มความสามารถในการจัดการ Third Party Logistics (3PL)
การตรวจสอบคุณสมบัติของซัพพลายเออร์และการตรวจสอบตามรอบ: ทำให้กระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติของซัพพลายเออร์และการตรวจสอบที่ตามรอบเป็นอัตโนมัติ เพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพที่สม่ำเสมอและสอดคล้องกับมาตรฐานของคุณ
การแจ้งเตือนการจัดส่งขั้นสูง: ใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อส่งการแจ้งเตือนการจัดส่งไปยังคู่ค่า Third Party Logistics ของคุณ เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการรับสินค้าและการวางแผนคลังสินค้า
การอัปเดตและการเชื่อมต่อข้อมูลกับซัพพลายเออร์: รวมข้อมูลของซัพพลายเออร์ของคุณเข้ากับระบบภายในเพื่อทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติ ปรับปรุงการสื่อสารและการทำงานร่วมกัน
ข้อมูลการจัดการตัววัดผลประสิทธิภาพแบบอัตโนมัติ: ทำให้การระบุและวิเคราะห์ตัววัดผลสำคัญของการทำงานร่วมกับ Supplier เป็นอัตโนมัติ
7. เพิ่มความสามารถในการมองเห็นภาพรวม Supply Chain Management ด้วยดัชนีชี้วัดและแดชบอร์ด
สร้างแดชบอร์ดและดัชนีชี้วัด: ใช้แดชบอร์ดและดัชนีชี้วัดอัตโนมัติเพื่อแสดงภาพตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลัก (KPI) ในฟังก์ชันต่างๆ ของ Supply Chain ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงาน และสนับสนุนการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง: ทำให้การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ภายใน Supply Chain ของคุณเป็นแบบอัตโนมัติ รวมถึงระบบการจัดการคลังสินค้า ระบบการจัดการขนส่ง และระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ ช่วยให้มั่นใจได้ถึงข้อมูลที่ครอบคลุมและสม่ำเสมอเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์
การเก็บข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์หลายช่วงเวลา: ใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลอัตโนมัติเพื่อจัดเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลานาน ซึ่งช่วยให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้ม เปรียบเทียบประสิทธิภาพในช่วงเวลาหนึ่ง และระบุจุดที่ต้องปรับปรุงได้
8. ผลักดันการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
ระบุและปรับปรุงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการสร้างรายงานแบบอัตโนมัติ: ทำให้กระบวนการระบุและปรับปรุงข้อมูลเป็นอัตโนมัติเพื่อความถูกต้องและความสม่ำเสมอของข้อมูล ซึ่งช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากคนและอำนวยความสะดวกในการสร้างรายงานอัตโนมัติ ช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากร
เติมข้อมูลล่วงหน้าสำหรับการสร้างรายงานตามรอบที่ซับซ้อน: ใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อเติมข้อมูลรายงานตามรอบไว้ล่วงหน้าด้วยข้อมูลที่แม่นยำจากแหล่งต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการรายงานและลดความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาด
Automation สามารถเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ Supply Chain Management ได้มากมาย หลากหลายส่วนงาน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าธุรกิจของคุณต้องปฏิวัติกระบวนการทำงานทุกอย่างพร้อมๆ กัน เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือการประเมินความต้องการของคุณและธุรกิจว่าส่วนไหนที่อยากนำ Automation เข้ามาสนับสนุน และเลือกโซลูชันที่ใช่ที่สุด
ด้วยการใช้ระบบอัตโนมัติอย่างมีกลยุทธ์ คุณสามารถเปลี่ยน Supply Chain Management ของคุณให้เป็นเครื่องจักรที่ทรงพลัง ขับเคลื่อนการเติบโตและสร้างความพึงพอใจของลูกค้าในยุคที่ธุรกิจพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง
ZyGen ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ Automation, RPA, OCR, และ IA สำหรับ Supply Chain Management ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำ คลิก