ยืนหนึ่งในการพัฒนา ด้วยการใช้ข้อมูลอย่าง Professional

Highlights

  • การพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เริ่มต้นที่ตัวเอง และส่วนใหญ่เกิดจากความคิดของตัวเอง มากกว่าการถูกสั่งให้ทำ เพียงแต่ต้องโน้มนาวให้ถูกวิธี
  • นอกจากเครื่องมือต่าง ๆ ของนักจิตวิทยาแล้ว ยังมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวเอง หรือ Self-Services ก็สามารถทำให้ผู้ที่ต้องการพัฒนา เข้าใจถึงแก่นแท้ของสิ่งที่ต้องการจะทำมากขึ้น
  • เครื่องมือที่ว่านั้นก็คือ โปรแกรมในการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (Business Analytics Tool) โดยทั่วไปแล้วผู้ที่อยู่กับข้อมูล หรือ Business User จะเข้าใจกระบวนการทำงานของตัวเองอย่างลึกซึ้ง ถ้าสามารถนำเอาข้อมูลเหล่านั้น มาทำการวิเคราะห์ เปลี่ยนมุมมอง หรือทำการ Visualization Data ก็มีโอกาสที่จะเกิดการพัฒนาจากความคิดของตัวเอง และจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน
  • Case Study ของ Agoda ที่เชื่อว่า ทุกคนตั้งแต่พนักงานจนกระทั่งผู้บริหารมีศักยภาพในการบริหารจัดการด้วยตัวเอง มีการใช้ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาสนับสนุนการตัดสินใจในเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาองค์กร

“ถ้าเธอไม่ชอบอะไรบางอย่าง ก็เปลี่ยนมันซะ แต่ถ้าเปลี่ยนไม่ได้ ก็จงเปลี่ยนทัศคติของเธอเอง” ประโยคของ Maya Angelou กวีนิพนธ์ ในหนังสือ You can change your life ซึ่งเป็นหนังสือที่นำเอาข้อมูลจากโครงการศึกษาวิจัยของนักจิตวิทยาหลายโครงการ มาเป็นขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา

โดยผมจะยกตัวอย่างงานทดลอง กลุ่มนักวิจัย นำโดยบาร์บารา มึลเลอร์ นักจิตวิทยาสังคม แห่งมหาวิทยาลัยแรคบาวด์ ยูนิเวอร์ซิตี้ เมจเนเกน ในเนเธอร์แลนด์ ได้สุ่มกลุ่มอาสาสมัครที่สูบบุหรี่ เข้ามาในห้องทดลองทีละคนโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้เขียนโทษของการสูบบุหรี่ลงในกระดาษมากที่สุดในเวลา 5 นาที ส่วนอีกกลุ่มให้อ่านเอกสารเกี่ยวกับโทษของการสูบบุหรี่ที่ได้เตรียมไว้แล้วแผ่นหนึ่งเท่านั้น

จากนั้นนักวิจัยก็บอกทั้ง 2 กลุ่มว่า ขั้นต่อไปคือการทำแบบสอบถามในคอมพิวเตอร์ แต่…แกล้งบอกว่าคอมพิวเตอร์มีปัญหาและปล่อยให้อาสาสมัครรอ “นั่งรอกันสบาย ๆ ไปก่อนนะคะ ใช้เวลาซ่อมแค่ 15 นาทีเท่านั้นค่ะ” คำพูดของนักวิจัยก่อนเดินออกไป ปล่อยให้อาสาสมัครแต่ละคนนั่งรออยู่คนเดียวนานกว่าที่บอกไว้ 2 เท่า ขั้นตอนเหล่านี้ล้วนมีเหตุผล ทำให้พวกเขาเบื่อหน่าย แล้วก็เริ่มหงุดหงิด เพื่อที่ทีมนักวิจัยอยากจะดูว่ามีกี่คนที่หงุดหงิดกับการรอจนต้องจุดบุหรี่สูบระบายอารมณ์

ผลปรากฏว่าคนที่สามารถทดอยู่ได้ 30 นาทีโดยไม่จุดบุหรี่สูบ ในกลุ่มที่ได้อ่านเอกสารเกี่ยวกับโทษของการสูบบุหรี่ คิดเป็น 37% ของกลุ่ม เปรียบเทียบกับอีกกลุ่มที่เขียนถึงโทษของการสูบบุหรี่เองสามารถทนได้ถึง 71% ของกลุ่ม โดยพบว่าข้อมูลที่กลุ่มแรกเขียนโทษของการสูบบุหรี่คล้ายกับเอกสารที่เตรียมไว้ให้กลุ่มที่ 2 อ่านมาก ความหมายคือทั้ง 2 กลุ่ม ทราบเกี่ยวกับโทษของการสูบบุหรี่ ข้อแตกต่างเดียวก็คือ อาสาสมัครเหล่านี้มีส่วนร่วมในการคิดหาเหตุผลที่จะไม่สูบบุหรี่ด้วยตัวเองเท่านั้น

ความนัยของการศึกษานี้ชัดเจนมาก คือ เมื่อใดที่เราต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้อื่น เราจะต้องไม่เสนอความคิดเห็นของตัวเองหรือให้ข้อเท็จจริงกับพวกเขาเท่านั้น แต่ควรจะให้พวกเขาคิดหาเหตุผลของตัวเองในการเปลี่ยนแปลง

คนเราจะไม่ชอบถูกบังคับ หรือกดดันให้ทำสิ่งที่ไม่ต้องการ

หากเรานำงานวิจัยข้างต้นมาปรับใช้กับการพัฒนากับตัวเอง หรือคนในองค์กร โดยอาจจะเปรียบเทียบ กลุ่มอาสาสมัครคือคนในทีม กลุ่มนักวิจัยคือผู้ที่ต้องการให้เกิดการพัฒนา โทษของการสูบบุหรี่คือการทำงาน และวิธีการวิจัยคือเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวเอง (Self-Services) ที่จะช่วยให้คนในทีมมีส่วนร่วมในการพัฒนาทีม

เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวเอง (Self-Services) คือ โปรแกรมในการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (Business Analytics Tool) ที่จะแปลงข้อมูลจากการเก็บข้อมูลแบบตารางใน Excel หรือใน Database อื่น ๆ ออกมาในรูปแบบของ Data Visualization หรือ การแสดงผลด้วยรูปภาพ หรือ กราฟนั้นเอง เช่น SAP Analytics Cloud (SAP SAC), Microsoft PowerBI (MS PowerBI), Tableau เป็นต้น และในปัจจุบันเทคโนโลยีค่อนข้างที่จะทันสมัย การนำข้อมูลออกมาวิเคราะห์ทำได้ง่าย ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. Drag & Drop ลากแล้ววาง

2. Q&A, Augmented Analytics, ถามในสิ่งที่อยากรู้

3. Get quick insights ให้ระบบแนะนำ Visualization ในข้อมูลที่เรา เพื่อเป็นต้นแบบ

แต่จริงๆแล้ว ประโยชน์ของ Business Analytics Tool ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ แต่ยังสามารถใช้เวลาอันน้อยนิดเพื่อแสดงข้อมูลทางธุรกิจที่มีปริมาณมาก ๆ แสดงข้อมูลแบบเรียลไทม์ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจอีกด้วย

เพียงแค่นี้แทบจะบอกไม่ได้เลยว่า การวิเคราะห์ข้อมูล หรือ IDEA ที่จะเกิดขึ้น เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาจะมีมากเพียงใด แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ พวกเขาจะคิดหาเหตุผลของตัวเองในการเปลี่ยนแปลง นี้แหละเป็นจุดประสงค์หลักของการพัฒนา

การนำเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้เป็นวิธีการใหม่แต่อย่างใด ทั้งนี้ยังมีหลายบริษัทที่นำวิธีการนี้มาประยุกค์ใช้กับองค์กรของตัวเอง แล้วเกิดการพัฒนาเป็นอย่างมาก ในบทความนี้ผมจะยก Case study ของบริษัทผู้ให้บริการการจองที่พักออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก นั้นก็คือ Agoda นั่นเอง

Agoda หนึ่งในผู้ให้บริการการจองที่พักออนไลน์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก บริษัทสตาร์ทอัพนี้ก่อตั้งเว็บไซต์พร้อมสำนักงานเล็ก ๆ ในเกาะภูเก็ต ประเทศไทย และขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วไปทั่วเอเชีย ในปี 2007 เป็นบริษัทผู้ให้บริการการจองที่พักออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพนักงานมากกว่า 3,700 คนทั่วโลก และ Agoda มีความเชื่อว่า “ทุกคนตั้งแต่พนักงานจนกระทั่งผู้บริหารมีศักยภาพในการบริหารจัดการด้วยตัวเอง Agoda ไม่อยากพรากศักยภาพเหล่านั้นจากพนักงานทุกคน ด้วยการให้ HR จัดการสิ่งเหล่านั้นแทนในทุก ๆ เรื่อง”

หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงของ Agoda คือ การจัดตั้งทีม People Team ที่มีหน้าที่ “Help managers manage better, not to manage on their behalf” หรือแปลเป็นไทยแบบง่าย ๆ ว่าช่วยผู้จัดการให้จัดการได้ดีขึ้น ไม่ใช่ไปจัดการแทน เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ใช้ในการช่วยผู้จัดการคือการให้ข้อมูลที่สำคัญเพื่อช่วยตัดสินใจ

ถ้าคุณเป็นระดับผู้จัดการหรือผู้บริหารใน Agoda คนมีหน้าที่สัมภาษณ์ คัดเลือกพนักงาน และตัดสินใจเรื่องเงินเดือนด้วย หน้าที่ของ People Team คือ ให้ข้อมูล Real-time market rates on compensation เป็นข้อมูลฉบับอัพเดทเพื่อให้รู้ว่าตำแหน่งดังกล่าว ในท้องตลาดทั้งในอุตสาหกรรมเดียวกันและต่างอุตสาหกรรมจ่ายค่าตอบกันเท่าไหร่ ? ผู้จัดการจะได้ตัดสินใจให้เงินเดือน และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ได้ถูกต้อง

ในส่วนของวิธีการทำงานที่ต่างกันในแต่ละแผนก หากวัดผลด้วยเกณฑ์เดียวกัน ดูเหมือนจะไม่เป็นธรรมเท่าไหร่นัก คนที่รู้ดีที่สุดว่าจะวัดผลงานพนักงานในทีมยังไง คือ ผู้จัดการนั่นเอง Agoda เปิดกว้างให้ผู้จัดการออกแบบวิธีการวัดผลและให้โบนัส บางทีมจ่ายโบนัสทุกปี บางทีมจ่ายทุกเดือน โดย People Team จะเก็บข้อมูลการทำงาน วิเคราะห์พัฒนาการรายบุคคล และสรุปผลลัพธ์จากการงานที่ทำ เพื่อมีข้อมูลช่วยผู้จัดการให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น นอกจากนั้น Agoda ยังมีการทำแบบทดสอบเพื่อค้นหา Skill ที่ยังขาด เพื่อที่จะได้คิดค้นวิธีพัฒนา Skill ที่ขาดหายไปแบบไม่ต้องสุ่มเดา

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่จะผลักดันทำให้องค์กรเกิดการเติบโต ผู้ที่ต้องการพัฒนาจะต้องมีความเชื่อ และทำให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น มีเครื่องมือเป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อดึงศักยภาพของสิ่งต่าง ๆ ให้ตรงจุด

หากท่านกำลังมองหาการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ ให้ ZyGen เราเป็นที่ปรึกษา ด้วยประสบการณ์การทำงานมากกว่า 20 ปี เข้าใจถึงไลฟ์สไตล์การทำงานของทุก ๆ generation ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า

INNOVATIVE CONSULTANCY FOR BETTER BUSINESS AND LIFE

Author : Jirasak Wiya ผู้ที่ชอบคำว่า Passion is Life

Reference :


แชร์ :
Scroll to Top