SAP BPC คืออะไร? ทำไมองค์กรในยุคปัจจุบันถึงให้ความสำคัญมาก

ในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว SAP Business Planning and Consolidation (SAP BPC) คือ ตัวช่วยสำคัญในการจัดการข้อมูลทางการเงินและสามารถวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นได้ สิ่งนี้เองที่เป็นจุดเด่น และเป็นสิ่งที่จำเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาแผนการเงิน งบประมาณ และเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์องค์กร (Strategic Planning, Budgeting & Rolling Forecasts) เป็นสิ่งที่หลายๆ บริษัทจำเป็นต้องพัฒนาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ ธุรกิจของบริษัทมีการเติบโตขึ้นตลอดเวลา ทั้งในสายธุรกิจที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การจัดโครงสร้างในรูปแบบของการถือหุ้นในบริษัทอื่น ๆ ก็กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นด้วย

ด้วย SAP Business Planning and Consolidation (SAP BPC) จะช่วยลดความยุ่งยากในการวางแผนงาน (Planning and Forecasting) โดยสามารถการเชื่อมโยงแผนของแต่ละฝ่าย อาทิเช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายผลิต ฝ่ายบุคคล ฝ่ายการเงิน ตลอดจนมีเครื่องมือที่ช่วยในการทำงบการเงินรวม (Financial Consolidation) เพื่อให้องค์กรสามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูลการเงินภายในบริษัทได้ถูกต้องและรวดเร็วที่สุด 

ความสามารถหลักของ SAP Business Planning and Consolidation (SAP BPC)

1. การวางแผน (Business planning) ตัวอย่างเช่น

  • การวางแผนงบประมาณ (Budgeting)
  • การวางแผนยอดขายและรายได้ (Sales/revenue planning)
  • การวางแผนรายจ่ายการลงทุน (Capital expenditure (CAPEX) planning)
  • การวางแผนกำลังคน (Headcount/staffing)
  • การวางแผนค่าใช้จ่าย (Expense planning)
  • การวางแผนกระแสเงินสด สภาพคล่อง (Cash flow / liquidity planning)

2. การคาดการณ์อนาคต (Forecasting) ตัวอย่างเช่น 

  • การคาดการณ์อนาคตโดยปรับเปลี่ยนตามสถานะการณ์ปัจจุบัน (Rolling forecasts)
  • การคาดการณ์อนาคตที่สัมพันธ์กับงบการเงินขององค์กร (Integrated financial statement)
  • การคาดการณ์อนาคตที่สัมพันธ์กับงบกำไรขาดทุน (Income statement, Profit & Lost statement)
  • การคาดการณ์อนาคตที่สัมพันธ์กับงบดุล (Balance sheet)
  • การคาดการณ์อนาคตที่สัมพันธ์กับงบกระแสเงินสด (Cash flow)
  • การกำหนดปัจจัยที่กระทบกับภาพรวมขององค์กร (Scenario modeling)

3. งบการเงินรวม (Consolidation) ตัวอย่างเช่น 

  • การจับคู่และการกระทบยอดรายการระหว่างกันของของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย (Intercompany matching / reconciliation)
  • การตัดรายการระหว่างกันของของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย (Intercompany eliminations)
  • งบการเงินรวมในมุมมองของผู้บริหาร (Management consolidation and reporting)
  • งบการเงินรวมสำหรับองค์กร (Legal / statutory consolidation)
  • ความเชื่องโยงกันของข้อมูลทางการเงิน (Data mapping / submission)

4. Financial reporting and analysis ตัวอย่างเช่น 

  • การพัฒนารายงานเฉพาะสำหรับองค์กร (Ad hoc reporting)
  • การวิเคราะห์ข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ (Variance analysis)
  • การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อธุรกิจ (Driver analysis (industry, growth, capacity, etc.))

SAP Business Planning and Consolidation (SAP BPC) ยังมีความสามารถอื่นๆ ที่หลากหลาย ตอบโจทย์ทุกความต้องการทางธุรกิจของท่าน มั่นใจได้เลยว่า SAP BPC จะเป็นตัวช่วยคาดการณ์ วางแผน และวิเคราะห์ธุรกิจได้อย่างดี

สำหรับองค์กรใดที่กำลังมองหา เครื่องมือที่สามารถทำการวางแผน (Planning), ทำงบประมาณ (Budgeting), การคาดการณ์อนาคต (Forecasting) และ การทำงบการเงินรวม (Financial consolidation) ครบทั้งหมดใน Application เดียว ทางบริษัทไซเจ็น (ZyGen) สามารถช่วยให้คำปรึกษา ดูแลและพัฒนาเพื่อให้องค์กรของท่านดำเนินธุรกิจไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

Author : TotoroRN


แชร์ :
Scroll to Top