Use Case | Gather Town จัดอีเวนท์เพื่อการเรียนรู้ บนพื้นที่เสมือน (Monster Hunter by MUICT) 

[บทสัมภาษณ์จากทีมงานไซเจ็น] 

จากการใช้ Gather Town เพื่อการเรียนออนไลน์ สู่การจัด Workshop ที่ประยุกต์ใช้ในรูปแบบ Gamification

Monster Hunter เป็นอีเวนต์บนพื้นที่เสมือน (Virtual Space) ของคณะ MUICT (คณะ ICT ของมหาวิทยาลัยมหิดล) ซึ่งจัดขึ้นสำหรับน้องๆ ม.ปลายที่สนใจเรื่องการเขียนโปรแกรม โดยในพื้นที่ออนไลน์นี้ จะจำลองกิจกรรมขึ้นมาพร้อมกับแนะนำหลักสูตรของคณะผ่านรูปแบบ การผจญภัยบน Gather Town น้องๆ นักเรียนจะได้เดินทางและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ และทีมผู้สอน เดินทางผ่านตามด่านต่างๆ คล้ายการเล่นเกม ซึ่งทางคณะเอง ต้องการถ่ายทอดความรู้ในการเขียนโปรแกรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจคอนเซ็ปในการเขียนโปรแกรมที่ดีคืออะไร การ Testing ที่ดีคืออะไร และขั้นตอนในการการหาบัคทำอย่างไรบ้าง ประกอบกับช่วงนั้น มีการเรียนการสอนในแบบออนไลน์พอดี และมีการเริ่มใช้ Gather Town อยู่แล้ว ทางทีมอาจารย์เลยมีไอเดีย ในการนำ Gather Town มาประยุกต์ใช้กับการจัดกิจกรรม 

โจทย์ของทางทีมอาจารย์ผู้จัดคือ อยากจำลองกิจกรรมให้เหมือนการตามล่าสัตว์ประหลาด (Monster Hunter) จำลองเป็นเมืองขึ้นมา มีป่า มีเมืองหมอก เป็นด่านๆ เหมือนเล่นเกม บน Gather Town แล้วให้น้องๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้แบ่งกลุ่ม และตามหา Bug ของ Source Code ที่ซ่อนอยู่ในแต่ละด่าน ซึ่งจะมี NPC ทำหน้าที่เป็นสัตว์ประหลาด

Gather Town - Use Case
จำลองกิจกรรมให้เหมือนการตามล่าสัตว์ประหลาด (Monster Hunter)

ทีม ZyGen ได้เข้าไปช่วยออกแบบพื้นที่และการประยุกต์ใช้งาน Gather Town เป็นการมีส่วนร่วมในการออกแบบเพิ่มเติม ต่อยอดจากไอเดียของทีมอาจารย์ เพื่อให้การนำระบบ Gather Town ไปใช้งาน ตอบโจทย์มากที่สุด เพราะรูปแบบในการนำไปใช้งานคล้ายๆ กับการเล่นเกม เลยจะต้องวางแผนเส้นทางบน Virtual Map ให้ดี เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้งาน และยังคงได้ความรู้ตามจุดประสงค์การจัดกิจกรรม ในส่วนของคำถามในด่านต่างๆ ทางทีมอาจารย์ได้จัดเตรียมเนื้อหาและตัวอย่าง Source Code ไว้อยู่แล้ว เราก็แค่ช่วยนำ Source Code เหล่านี้ Embed เข้าไปกับตัว Gather Town ได้เลย 

ทำตามโจทย์ แต่ไม่ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นไปได้บน Virtual Space

ในวันแรกของการเริ่มโปรเจกต์นี้ เราเริ่มจากการเก็บ Requirement ก่อน ซึ่งก็ไม่ได้ปิดกั้นไอเดียว่าอะไรทำได้ หรือทำไม่ได้ เพื่อให้ทางอาจารย์ได้บอกเล่าไอเดีย และอธิบายในสิ่งที่ต้องการอย่างเต็มที่ จากนั้นเราจึงจะมาช่วยแนะนำอีกครั้งว่า สิ่งไหนที่ระบบสามารถจัดทำได้เลย สิ่งไหนที่เป็นข้อจำกัด และมาคิดต่อว่าจะสามารถใช้ไอเดียไหนในการเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปนี้ได้ยังไง เพื่อให้โปรเจกต์ที่กำลังจะเกิดขึ้นสมบูรณ์แบบที่สุด และยังคงความสนุกไว้ 

และมาคิดต่อว่า จะสามารถใช้ไอเดียไหนในการเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปนี้ได้ยังไง เพื่อให้โปรเจกต์ที่กำลังจะเกิดขึ้นสมบูรณ์แบบที่สุด และยังคงความสนุกไว้ 

เช่น ทางทีมอาจารย์มีความต้องการ ในการจำลอง ลูกโปเกบอล และวางซ่อนไว้ยังพื้นที่ต่างๆ โดยโปเกบอลนั้นจะเก็บคำปริศนาไว้ ตอนที่ผู้เข้าร่วมเดินมาเจอก็สามารถเก็บสะสมลูกโปเกบอลและเห็นว่าคำปริศนานั้นคือคำว่าอะไร พร้อมกับทำให้ลูกโปเกบอลนั้นหายไปถ้ามีคนเจอแล้ว แต่โจทย์ข้อนี้มีข้อจำกัดทางซอฟแวร์ เพราะ Gather Town ยังไม่สามารถทำได้ เราเลยต้องพลิกแพลงไอเดีย โดยการออกแบบตัว NPC มาบอกใบ้คำปริศนาแทน และให้ซ่อนอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะแวะดูคำใบ้จาก NPC ได้ ใครที่ช่างสังเกต จะสามารถประติดประต่อคำปริศนา และนำไปตอบคำถามช่วงท้ายกิจกรรมเพื่อรับคะแนนพิเศษ 

ออกแบบพื้นที่สนุกทุกแมพ” แต่ก็ยังมีความท้าทายให้ได้ตื่นเต้น 

ความท้าทายไม่ใช่เรื่องการสร้างพื้นที่ Virtual Map ตรงๆ แต่เป็นเรื่องการนำเสนอ และเรื่องไอเดียในการออกแบบเส้นทางให้สนุก ไม่ใช้งานยากจนเกินไป โดยทั่วไปเวลาเราสร้างแมพที่มีขนาดใหญ่มาก เช่น มีด่านมากกว่า 10  ด่าน จะมีโอกาสที่ผู้ร่วมกิจกรรมแต่ละคนเดินกระจายกันไป และอาจจะหลงทางได้ ยิ่งถ้าเป็นกิจกรรมที่มีกรอบระยะเวลาที่ในการเข้าร่วมจำกัดแล้ว ยิ่งต้องให้ความสำคัญใน Journey ของผู้เข้าร่วม

ระบบ Gather Town โดยปกติจะเห็นรายชื่อคนที่ออนไลน์ แต่จะระบุไม่ได้ว่าตอนนี้อยู่แมพไหน ซึ่งประเด็นนี้อาจจะทำให้มีผู้เข้าร่วมพลัดหลงได้ ทีมงาน ZyGen เลยเสนอไอเดียที่จะช่วยให้ Staff หรือ TA (Teacher Assistant) ของกิจกรรมสามารถเดินไปหาน้องๆ นักเรียนที่เดินอยู่ยังโซนต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ด้วยการสร้าง Teleport โซนขึ้นมา หลักการคือรวมจุดวาปของแต่ละด่าน แต่ละแมพ มาไว้จุดเดียวกัน และอนุญาตให้เฉพาะ Staff หรือ TA เท่านั้น ที่สามารถเข้าไปยังโซนนี้ได้ ไอเดียนี้จะช่วยให้ Staff สามารถวาร์ปไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และช่วยดูแลผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ได้สะดวกมากขึ้น 

Gather Town - Use Case
ห้อง ‘จิ้งหรีด’ และแมพส่วนอื่นๆ

อีกโจทย์หนึ่งของการออกแบบคือ การเพิ่มกิมมิคระหว่างเส้นทางของแต่ละด่านไม่ให้กิจกรรมน่าเบื่อ และตื่นเต้นมากขึ้น จึงเกิดไอเดียขึ้นมาเป็นห้องที่ผู้ใช้และทีมออกแบบค่อนข้างชื่นชอบกันที่สุด คือห้องที่เรียกกันเองว่าห้อง ‘จิ้งหรีด’ เป็นห้องมืดๆ ทึบๆ เราจะไม่รู้ว่าต้องเดินไปทางไหน ถ้าเดินไปผิดทางก็โดนวาร์ปกลับมาจุดเริ่มต้น ถือว่าเป็นกิมมิคของกิจกรรม และไม่ใช่อะไรที่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้เทคนิคมากมาย แต่ได้ความสนุกเพลิดเพลินในการใช้งานค่อนข้างมากเลยทีเดียว

แนวคิดการทำงานที่ทีมอยากแชร์ 

Service Mindset เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะบริการของเราค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่กับผู้ใช้งานหรือลูกค้าในไทย ถึงหลายคนอาจจะรู้จัก Virtual Space Platform กันบ้างอยู่แล้ว แต่ต้องยอมรับว่าคนอีกจำนวนมากค่อนข้างใหม่กับเทคโนโลยีนี้ และยังไม่แน่ใจว่าจะนำไปใช้งานในรูปแบบไหนบ้าง หน้าที่ของทีมงาน ZyGen เราคือการรับฟัง และเข้าใจความต้องที่แท้จริงของลูกค้าให้ได้ และต้องพร้อมเสนอแนะไอเดียใหม่ๆ อยู่เสมอ เพราะจริงๆ แล้ว เราในฐานะคนที่ให้บริการต้องแนะนำหรือเข้าไปมีส่วนร่วม เข้าไปคิดเหมือนเป็นคนจัดงานของเขา 

เพราะมีหลายอย่างมากที่บางทีลูกค้าก็นึกไม่ถึงว่าทำแบบนี้ได้ หรือบางอย่างที่ลูกค้าเขาคิดว่ามันยากอาจจะทำไม่ได้ จริงๆ ในทางเทคนิคมันไม่ได้ยากและสามารถทำได้เลย ดังนั้น Service Mindset ของเรา เลยไม่ใช่แค่ทำตาม Requirement แต่จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมเหมือนเป็นทีมงานของลูกค้าเลย ซึ่งเป้าหมายของเราคืออยากจะช่วยให้แต่ละอีเวนต์ของลูกค้าประสบความสำเร็จ

การทำงานที่ใส่ใจมากกว่าเรื่องปัญหาทางเทคนิค 

ทางอาจารย์เขาก็ชื่นชมทีมงานเรามาเยอะนะ ยิ่งประโยคที่บอกว่าตอนจะจัดกิจกรรมนี้ นึกถึงทีมเราเป็นคนแรกเลย ประโยคง่ายๆ แค่นี้ แต่ค่อนข้าง Powerful สำหรับคนทำงานอย่างเรา เพราะมันสะท้อนว่าเราสร้างประโยชน์และคุณค่าให้เขาได้จริงๆ ยกตัวอย่างเรื่องหนึ่ง ที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับงานออกแบบแมพโดยตรง คือมีทีมงานของเรานี่แหละ ไปช่วยเป็น DJ ระหว่างกิจกรรมให้ลูกค้าด้วย สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยู่ในเนื้องานก็จริง แต่หน้างานเราเห็นแล้วว่าในบางช่วงกิจกรรมอาจจะเริ่มดูจริงจังเกินไป ประจวบกันในบางแมพ ยังไม่ใช่ส่วนเนื้อหาเชิงวิชาการ ทางทีมงานก็จะช่วยเปิดเพลงให้เข้ากับแมพหรือกิจกรรมนั้นๆ 

ผลลัพธ์คือ บรรยากาศค่อนข้างดีขึ้น ผู้เข้าร่วมก็สนุกมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ต่อให้ไม่ได้อยู่ในหน้าที่หลัก แต่ถ้าเราเข้าใจสถานการณ์และความต้องของลูกค้า เราก็พร้อมเข้าไปช่วยเสมอ ทางลูกค้าก็ค่อนข้างประทับใจ และชื่นชมทีมงาน ZyGen ว่าซัพพอร์ตและจัดกิจกรรมได้สนุก สามารถช่วยได้เยอะเลย 

ทางลูกค้าก็ค่อนข้างประทับใจ และชื่นชมทีมงาน ZyGen ว่าซัพพอร์ตและจัดกิจกรรมได้สนุก สามารถช่วยได้เยอะเลย

สำหรับ Virtual Space Platform ในตลาดอาจจะมีหลากหลายแบรนด์ แต่แบรนด์ที่ที่รู้จักกันเป็นอันดับต้นๆ และเป็นที่นิยมทั่วโลกก็คงจะเป็น Gather Town ซึ่งบอกเลยว่า ทุกองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบทั้งด้านการทำงาน การเรียนการสอน การจัดงานอีเวนต์ การจัดงานนิทรรศการ งานรับน้องใหม่ในมหาวิทยาลัย พื้นที่ประชาสัมพันธ์ด้าน ESG หรืองานอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งตัว Virtual Space จะสร้างพื้นที่พบปะแบบใหม่ที่ไม่เหมือนใคร และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้ใช้งานได้อีกด้วย 

หากสนใจนำ Virtual Space ในการจัดการเรียนการสอน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ติดต่อ ZyGen

แชร์ :
Scroll to Top