ทำความรู้จักกับ Robotic Process Automation (RPA) คืออะไร
Robotic Process Automation หรือ RPA คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยพนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบอัตโนมัติ โดยมีเทคโนโลยีที่สามารถเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ เช่น Rule Engine, Image Recognition, Machine Learning และ Artificial Intelligence (AI) เป็นต้น ซึ่งการทำงาน RPA รวมกับเทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน Routine ของพนักงานในปัจจุบัน และอนาคต การทำงานของ RPA ทำงานโดยหุ่นยนต์ซอฟต์แวร์ (Robot Software) เพื่อจัดการกับงานที่อยู่ในรูปแบบซ้ำๆ ช่วยลดความผิดพลาด และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ส่วนที่ RPA สามารถเข้าไปช่วยได้ดีจะเป็น การกรอกข้อมูลเดียวกันในหลาย ๆ ที่ การป้อนข้อมูลซ้ำ หรือการคัดลอก การนัดหมาย ระบบการคีย์ การส่งอีเมล และการสรุปรายงาน Robot สามารถทำงานตามขั้นตอนที่กำหนดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ตัวอย่างงานที่สามารถนำ RPA เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานแบบอัตโนมัติ มีดังนี้
- งานที่มีปริมาณมหาศาล และมีความซับซ้อน
- งานที่ต้องใช้เวลานานในการทำงาน
- งานป้อนข้อมูล
- งานที่มีการตัดสินใจอย่างตายตัว
- งานที่ต้องมีหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง
ข้อดีของการนำ RPA เข้ามามีส่วนร่วมในองค์กรธุรกิจ
- ทำงานได้รวดเร็วขึ้น
- สามารถกำหนด สั่งการ กระบวนการ วิธีการทำงานได้ โดยโปรแกรม Attended RPA เหมาะกับงานที่ต้องการความรวดเร็ว
- การทำงานโดยไม่มีคนสั่งการ โดยใช้โปรแกรม Unattended RPA สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง เหมาะกับงานที่มีปริมาณมาก ขั้นตอนซับซ้อน และตั้งค่าเวลาการทำงานได้
- การประมวลผลอย่างเป็นระบบ
- ลดความผิดพลาดในงาน
- การบันทึกข้อมูลเข้าระบบอัตโนมัติ
ทำไม RPA ถึงเป็นที่น่าสนใจในปัจจุบัน
เนื่องจาก RPA สามารถช่วยให้ระยะเวลาทำงานเร็วขึ้น และลดความผิดพลาดของมนุษย์ นอกจากจะช่วยให้งานเสร็จเร็ว สามารถทำให้องค์กรมีเวลาไปทำสิ่งที่สำคัญ หรือไปตรวจสอบงานอื่นๆได้ไม่ว่าจะเป็นแผนกใดในองค์กรก็ตาม ซึ่งสามารถวิเคราะห์การทำ RPA เข้าไปช่วยโดยกระบวนการที่เรียกว่า “การคัดเลือกกระบวนการที่เหมาะสม” หรือที่เรียกว่า “Process Discovery & Assessment” ซึ่งจะช่วยวางแผนการนำเข้าไปใช้งานและคำนวณ ROI ให้ได้อีกด้วย มาดูตัวอย่างแผนกต่างๆ ที่นำ RPA เข้าไปใช้งานด้านล่างนี้
1. Human Resources (HR)
การนำ RPA เข้ามามีส่วนร่วมในงานด้านทรัพยากรบุคคลช่วยให้รวบรวมข้อมูลได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น ตรวจสอบข้อมูลและความถูกต้องได้ ซึ่ง HR จะสามารถดำเนินงานได้รวดเร็วขึ้นเมื่อมีระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยงานทำให้พนักงาน มีเวลาเพิ่มขึ้นที่จะเรียนรู้งานอื่นๆ ที่ต้องใช้ทักษะมากกว่างานข้อมูลเอกสารที่ต้องทำซ้ำๆ
การนำ RPA เข้ามามีส่วนร่วมในงาน HR มีดังนี้
1.การจ้างงาน กระบวนการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ ผู้เชี่ยวชาญด้าน HR ควรจัดการงาน เช่น การสร้างบัญชีผู้ใช้ และที่อยู่อีเมลใหม่ ทำให้สามารถเข้าถึงไฟล์ แอปพลิเคชัน และอุปกรณ์ไอทีได้ทันที Robot RPA สามารถตัดสินใจโดยใช้เงื่อนไขตามที่ตั้งไว้ได้
2.การจัดหาผู้สมัคร ช่วยการคัดกรอง CV และการคัดเลือกผู้สมัครอาจเป็นงานที่ต้องใช้เวลามากที่สุด ที่สำคัญยังสามารถนำ OCR เข้ามาช่วยอ่านประวัติเอกสารที่อยู่ในรูปแบบ Image หรือ PDF ได้อีกด้วย
3.การตรวจสอบประวัติการจ้างงาน สามารถตรวจสอบข้อมูลของผู้สมัครสอบสัมภาษณ์ รวบรวมข้อมูลประวัติพนักงาน สามารถตั้งค่าสถานะผู้สมัครในการตรวจสอบประวัติการจ้างงานได้
4.การนัดสัมภาษณ์ผู้สมัคร ซอฟต์แวร์การทำงานร่วมกัน เช่น ระบบ AI แบบปฏิทินหรือแบบสนทนา ช่วยให้บริษัทจัดการสัมภาษณ์ได้อย่างง่ายดาย
5.จัดการจดหมายตอบรับ การนำ Robot RPA เข้ามามีส่วนร่วมในงานสามารถรวบรวมข้อมูล สร้างจดหมายนำเสนอ และตรวจสอบเอกสารที่ส่งคืน ดำเนินการส่งจดหมายเสนอได้เร็วกว่ามนุษย์ ยกตัวอย่าง SAP Intelligent RPA (IRPA) ลดเวลาการสร้างจดหมายเสนอเป็น 1 นาทีจาก 15 นาที
6.การรวบรวมข้อมูล ช่วยในการจัดและรวบรวมข้อมูลที่อาจจะอยู่กระจัดกระจายให้เป็นระเบียบได้
7.เปลี่ยนแปลงบุคลากร เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรจะสามารถจัดการข้อมูลได้รวดเร็วด้วยระบบ RPA ได้อย่างรวดเร็ว
2. Insurance
การนำ RPA เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานสามารถเชื่อมช่องว่างระหว่างระบบประกันแบบเดิมๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานซึ่งองค์กรสามารถใช้ Application Programming Interface (API) ในการเชื่อต่อ สร้าง Workflow ด้วย RPA จากนั้นจะเกิดการทำงานอัตโนมัติแบบ End-to-End
การนำระบบ RPA เข้ามามีส่วนร่วมในงาน Insurance มีดังนี้
1. การรับประกันภัย ผู้จำหน่ายต้องวิเคราะห์แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อกำหนดความเสี่ยง และนโยบายที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า การนำ Robot RPA เข้ามามีส่วนร่วมสามารถรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายใน และภายนอกได้โดยอัตโนมัติ พร้อมทั้งยังนำเสนอบน Dashboard ส่วนกลางเพื่อการตัดสินใจที่รวดเร็วยิ่งขึ้นได้อีกด้วย
2. การช่วยเหลือด้านคอลเซ็นเตอร์ พนักงานดิจิทัลสามารถสนับสนุนผู้ที่สนับสนุนลูกค้าได้ตลอดเวลาและสามารถรับลูกค้าพร้อมกันได้จำนวนมาก
3. การจัดการฟอร์มลงทะเบียน RPA และ OCR Software จะช่วยอ่านตัวหนังสือจากเอกสารกระดาษที่ถูกสแกนและแสกนเฉพาะข้อมูลที่ต้องการด้วย OCR และ RPA โดยไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานเข้ามากรอก เพิ่มความรวดเร็วในการทำงานได้ดีเยี่ยม
3.Financial Services
การนำ RPA เข้ามามีส่วนร่วมในงานด้านบริการทางการเงินสามารถลดระยะเวลาได้อย่างเห็นได้ชัด เมื่อนำเข้ามาใช้ในการทำสินเชื่อจะสามารถปรับราคาสินเชื่อบ้านจาก 45 นาทีเหลือ 1 นาทีเท่านั้น โดย RPA จะทำการตรวจสอบสิทธิ์ของลูกค้าอย่างรวดเร็วตามข้อมูลที่มี หากต้องการปรับราคาเงินกู้ แนะนำราคาพิเศษ ก็จะช่วยร่างอีเมล เพื่อแนะนำข้อเสนอต่างๆ ได้ ซึ่งระบบอัตโนมัตินี้ช่วยลดการใช้แรงงานคน 400,000 ชั่วโมงให้กับพนักงานได้เลยทีเดียว
4. Logistics
ระบบอัตโนมัติ RPA จะเข้ามาช่วยงานด้าน Logistics ได้ซึ่งจะช่วยบันทึกข้อมูลแบบอัตโนมัติโดยการดึงข้อมูลที่สำคัญจากอีเมล จากนั้นนำไปใช้กับโปรไฟล์ลูกค้าเพื่อประมวลผลการชำระเงิน จัดการคำสั่งซื้อ และติดตามความคืบหน้าและยังช่วยในการวิเคราะห์ได้อีกด้วย
ดังนั้น RPA ไม่ใช่เพียงหุ่นยนต์ แต่ RPA คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่สามารถกำหนดเงื่อนไขได้ตามที่ต้องการ เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานในรูปแบบเดิมๆ ปรับการทำงานให้เป็นระบบ Automation ลดความผิดพลาดจากพนักงาน เพิ่มเวลาให้กับพนักงานได้ทำงานที่สำคัญมากขึ้นเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรธุรกิจได้ทุกประเภทธุรกิจได้เป็นอย่างดี
Process Discovery & Assessment เป็นตัวช่วยที่สำคัญให้องค์กรประหยัดเวลาที่สุด ได้ผลตอบแทนหรือประโยชน์ที่คุ้มค่าที่สุด ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรขององค์กรที่เหมาะสมที่สุด