10 ขั้นตอนสร้าง Data Community มุ่งหน้าสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างยั่งยืน

การสร้างองค์กรให้ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data) นั้น มีปัจจัยหลากหลายที่อาจจะถูกมองข้าม ตัวอย่างเช่น การสร้าง Data Community ในองค์กร หรือ เครือข่ายผู้ที่สนใจเกี่ยวกับข้อมูล ที่จะนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมของการใช้ข้อมูลให้กับองค์กร ซึ่งการที่จะทำ Data Community ให้สำเร็จนั้นจะต้องมีเวลาที่มากพอ และได้รับความร่วมมือจากหลากหลายทีม ทำให้บางครั้งหลายองค์กรมีข้อมูลแต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ในบทความนี้ ZyGen จะขอยก 10 ขั้นตอนสำคัญในการสร้าง Data Community ให้เกิดขึ้นในองค์กรของคุณ ซึ่งไม่เพียงแต่จะผลักดันให้พนักงานสามารถตัดสินใจสิ่งต่างๆ บนพื้นฐานของข้อมูลเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม การทำงานร่วมกัน และการเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุดอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้ว ก็ตามไปอ่านข้อที่ 1 กันได้เลย 

1. เริ่มจากตั้งเป้าหมายและจุดประสงค์ของการสร้าง Community 

Data Community Purpose

เมื่อจะต้องเริ่มทำงานอะไรสักอย่าง เราต้องรู้ว่าจะทำงานนั้นๆ ไปเพื่ออะไร การสร้าง Community ก็ควรต้องมีเป้าหมายและจุดประสงค์ที่ชัดเจนว่า ทำไมองค์กรต้องการสร้างกลุ่มที่รวบรวมคนที่สนใจเกี่ยวกับข้อมูลมาไว้ด้วยกัน และเมื่อรู้ความคาดหวังของการสร้าง Data Community ด้วยการมีพันธกิจที่ชัดเจน ก็จะช่วยกำหนดทิศทางที่ทุกคนควรจะเดินไปพร้อมๆ กัน และบรรลุในเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้  

2. ตามหา Data Champion คนที่ใช่และพร้อมลุยไปด้วยกัน 

Data Champion

ข้อต่อสำคัญของการสร้างพื้นที่นี้จำเป็นจะต้องมี “คนที่ใช่”  ที่พร้อมและเหมาะสมกับการผลักดันให้ Data Community เกิดขึ้นได้ในองค์กร ซึ่งควรจะต้องมี Passion ในด้านนี้ และเต็มใจที่จะทำให้เป้าหมายของ Community ประสบความสำเร็จ โดยพวกเขาอาจจะมาจากแผนกที่แตกต่างกัน มีตำแหน่งงานที่ต่างกัน ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญในการผลักดันและสนับสนุนคนอื่นๆ ในองค์กร ให้เห็นคุณค่าของการใช้ข้อมูล และอยากมีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมด้านข้อมูลให้เกิดขึ้น 

3. สนับสนุนด้านการฝึกอบรมด้านข้อมูลโดยเฉพาะ 

Data Knowledge

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมจะมีหลากหลายแผนก ซึ่งบางแผนกอาจจะยังไม่มความรู้ความเข้าใจเรื่องข้อมูลที่มากพอ เพราะฉะนั้นการสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมและการศึกษาให้กับสมาชิก เช่น Workshop, คอร์สออนไลน์ และแหล่งความรู้ต่างๆ ที่ตอบโจทย์ระดับความสามารถที่ต่างกันของแต่ละคนทั้งในระดับเริ่มต้นและระดับสูง จะส่งเสริมให้พนักงานพัฒนาทักษะทางด้านข้อมูลอย่างต่อเนื่องได้ 

4. สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรและง่ายต่อการใช้ข้อมูล 

Data-friendly Environment

สร้างความเข้าใจต่อพนักงานทุกคนในการเข้าถึงข้อมูลและสนับสนุนการใช้งาน Visualization Tools ที่ง่ายต่อผู้ใช้งานหลากหลายระดับ เช่น นำ Microsoft Power BI หรือ Tableau ที่ให้ผู้ใช้งานทุกระดับสามารถใช้งานได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางเทคนิค รวมทั้งทำให้แน่ใจว่าข้อมูลต่างๆ ขององค์กรถูกจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบและปลอดภัย พร้อมกำหนดนโยบายเพื่อรักษาคุณภาพข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้เกี่ยวข้องทุกคนอยู่เสมอ 

5. ผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันด้วยข้อมูลที่มีอยู่ 

Collaboration

สนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกันของทีม หรือในแผนกต่างๆ เช่น การจัดประชุมด้านข้อมูลเป็นประจำ เพื่อให้พนักงานได้แชร์ความรู้ ไอเดียหรือมาบอกเล่าประสบการณ์ที่มีเกี่ยวกับข้อมูล ทำให้เกิดผลลัพธ์และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีโอกาสพัฒนามาเป็นกลยุทธ์รับมือกับความท้าทายทางธุรกิจขององค์กรได้ 

6. ชื่นชมและให้รางวัลสำหรับการมีส่วนร่วม 

Rewards

คำชมและรางวัลเป็นสิ่งที่ทำให้คนทำงานรับรู้ได้ว่า สิ่งที่พวกเขาทำสามารถสร้าง Impact และองค์กรเห็นถึงคุณค่าของสิ่งเหล่านั้น  ฉะนั้น การชื่นชมและให้รางวัล เช่น การกล่าวขอบคุณ การให้สิ่งของ การเลื่อนขั้น หรือแม้กระทั่งการเขียนโน้ตขอบคุณง่ายๆ ให้กับบุคคลหรือทีมที่มีส่วนสำคัญในการทำให้ Data Community เติบโต จะช่วยสร้างพลังขับเคลื่อนให้เกิดการมีส่วนร่วมใน Community มากยิ่งขึ้น 

7. สร้างช่องทางการสื่อสารของ Data Community 

Communication Channels

สร้างช่องทางการสื่อสารเพื่อให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมและได้รับข่าวสารกันอย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นการปล่อย Newsletter สร้าง Forum สำหรับพูดคุย/ถาม-ตอบ หรือจะมีกลุ่มที่ใช้อยู่เป็นประจำขององค์กร เช่น Microsoft Teams, Slack, Google, LINE เป็นต้น ซึ่งช่องทางเหล่านี้จะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แชร์ความรู้ ขอความช่วยเหลือ และอัปเดตข่าวสารที่เกี่ยวกับ Data ได้อีกด้วย 

8. ติดตามความคืบหน้าและวัดผลการนำไปใช้งาน 

Metrics and measurement

การติดตามตัววัดผลถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้องค์กรได้ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ซึ่งสามารถแสดงผลลัพธ์ที่สำคัญต่างๆ ด้วยตัวเลขและกราฟ ตัวอย่างเช่น ระดับการเข้าร่วม (อาจจะคำนวณเป็นเปอร์เซ็น) พัฒนาการทางด้านการใช้งานข้อมูล (เช่น ผ่านการทำแบบทดสอบ) และวัดผลกระทบที่มีต่อองค์กรเมื่อมีการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูล (วัดผลได้หลากหลาย เช่น จากค่าความสำเร็จที่เพิ่มขึ้น หรือข้อผิดพลาดที่เกิดน้อยลง) โดยนำผลลัพธ์ที่ได้เหล่านี้มาวางกลยุทธ์และพัฒนา Community ต่อไป 

9. เรียนรู้จากข้อผิดพลาด เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่า 

Resilience

อย่างไรก็ตาม การนำข้อมูลมาปรับใช้นั้น ไม่ใช่ทุกแผนที่วางไว้จะสำเร็จได้ทันที เพราะฉะนั้น การเปิดใจยอมรับและเรียนรู้ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนแผนการให้เหมาะสม เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการผลักดันให้ Data Community แข็งแกร่ง ยิ่งสมาชิกทุกคนมีทัศนคติที่ดีต่อการลองผิดลองถูกและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มากเท่าไร Data Community ก็จะเข้าใกล้เป้าหมายได้มากเท่านั้น 

10. ขยายความสำเร็จให้ครอบคลุม พร้อมขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน 

Scaling

เมื่อ Data Community เริ่มโตขึ้น ก็อาจจะถึงเวลาต้องขยับขยายชุมชนให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร และให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมกันแบบจริงจัง ด้วยการหาโอกาสใหม่ๆ ของการเชื่อมต่อข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล หรือแม้แต่การนำ AI (Artificial Intelligence) เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ และคอยปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของ Data Community ให้เข้ากับความต้องการและเป้าหมาย เพื่อขับเคลื่อนองค์กรอย่างยั่งยืน 

การสร้าง Data Community ให้สำเร็จ อาจต้องใช้เวลาและความร่วมมือจากพนักงานในองค์กรอย่างมาก แต่ผลลัพธ์ที่ได้มาก็คุ้มค่ากับสิ่งที่ลงทุนไป เพราะองค์กรจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างสูงสุด มีการตัดสินใจที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลโดยใช้ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน สามารถวิเคราะห์และคาดการณ์เหตุการณ์ต่างๆ ผ่านข้อมูลนั้นได้ทันที เพียงคุณเริ่มตั้งแต่วันนี้ เรียนรู้จากข้อผิดพลาด แล้วผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ผลักดันด้วยข้อมูลอย่างแท้จริงก็ไม่ไกลเกินเอื้อม 

Sources: 
https://www.datameer.com/blog/how-to-build-a-data-culture-in-your-organization/
https://www.linkedin.com/advice/0/how-do-you-build-community-continuous-data-governance
https://www.tableau.com/blog/how-build-data-community-within-your-organization

แชร์ :
Scroll to Top