SAP BPC Standard กับ BPC Embedded ควรเลือกอย่างไร ให้เหมาะสมกับองค์กร

คำถามนี้อาจจะเป็นคำถามยอดฮิตสำหรับใครหลายๆ คนที่จะเริ่ม Implement ระบบ SAP BPC (Business Planning and Consolidation) วันนี้ผมจึงหยิบคำถามที่น่าสนใจนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจว่า ระหว่าง BPC Standard หรือ BPC Embedded ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งานในองค์กร

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ตัว BPC Embedded ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ใหม่ของทาง SAP ถึงแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกมาไม่กี่ปีนี้เองก็ตาม ถ้าให้พูดกันตามจริงก็คือ BPC Embedded จะเป็นการนำ BW-IP (SAP Business Warehouse Integrated Planning) แล้วนำมาประกอบกับ Front-end ที่เป็น SAP BPC ซึ่งถ้ามองตามอย่าง BPC Roadmap ของ SAP ในช่วงปีหลังๆ มานี้ SAP ได้มีการอัพเดท Feature ใหม่เพิ่มเติมในส่วนของ BPC Embedded หลากหลาย แต่ในส่วนของ BPC Standard ยังไม่ได้มีการปรับปรุงหรืออัพเดทฟีเจอร์เพิ่ม จากตรงนี้จะทำให้เราสังเกตุได้ว่า ทาง SAP เองก็มีการผลักดันในส่วนของ BPC Embedded มากกว่า ถ้าหากจะ Implement ด้วย BPC Embedded จะส่งผลต่อการ Maintenance ในระยะยาว ดังนั้นลองมาดูกันต่อว่า “BPC Embedded กับ BPC Standard” มาดูการเลือกใช้ของทั้ง 2 แบบเพื่อการตัดสินใจเบื้องต้นกันดีกว่า

โดยปกติลูกค้าจะทำการตัดสินใจในการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งแรก สำหรับเราในฐานะ Consultant เมื่อเราทำงานร่วมกับลูกค้า เราจะพิจารณาประเด็นต่อไปนี้

ลูกค้ามีระบบ BPC อยู่แล้วหรือไม่?

ในกรณีที่องค์กรของลูกค้ามีการใช้งาน BPC อยู่แล้วการใช้งานสิ่งใหม่ก็ควรเป็นไปตามแบบเดิมที่ลูกค้าเคยใช้ไม่ว่าจะเป็น BPC Standard หรือ BPC Embedded ก็ตาม เนื่องจากเป็น Version ที่ลูกค้ามีความคุ้นเคยทำให้มีทักษะและการสนับสนุนที่ถูกต้อง เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มั่นคงและมีแนวโน้มในการต่อต้านที่น้อย โดยปกติการตัดสินใจนี้จะต้องได้รับการทบทวนอีกครั้ง หากมีข้อกำหนดในการใช้งานเฉพาะซึ่งจำเป็นต้องใช้ Version อื่น

ถ้าองค์กรลูกค้ายังไม่มีการใช้งาน BPC ในกรณีที่ลูกค้าต้องการใช้ Financial Planning ทางเราจะมีการสอบถามในเรื่องของ “SAP Business Warehouse หรือ มีความต้องการที่จะลงทุนในส่วนนี้หรือไม่” ถ้าไม่ เราจะแนะนำให้ใช้ BPC Standard บน MS SQL ในปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ค่อยเลือกแนวทางนี้ แต่ก็ยังมีบางบริษัทที่สนใจแนวทางนี้อยู่บ้าง

ถ้าลูกค้ามี SAP Business Warehouse หรือสนใจที่จะใช้ SAP Business Warehouse เราจะแนะนำให้ไปทาง BPC Embedded สำหรับผู้ที่สงสัยว่าทำไมถึงต้องใช้ มีเหตุผลดังต่อไปนี้

1. การสร้างทีมที่รวดเร็ว

จากที่ได้อธิบายไปในตอนแรกว่า BPC Embedded เป็นเพียง BW-IP ที่ใช้ Front-end เป็น BPC ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งหมายความว่า มีที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญจำนวนมากในตลาดทำให้การสร้างทีมที่มีความแข็งแกร่งจะทำให้มีความยุ่งยากน้อยลงทำให้โครงการของลูกค้าดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

2. การใช้ประโยชน์จาก HANA Database

Planning Function ต่างๆ จะใช้ประโยชน์จาก HANA Database ซึ่งตัว BPC Embedded จะทำงานได้โดยตรงใน HANA Database ในขณะที่ BPC Standard ไม่มีการใช้งานในส่วนนี้ ดังนั้นกระบวนการในการคำนวนต่างๆ ของ BPC Embedded จะมีความรวดเร็วและประสิทธิภาพสูงมาก สามารถใช้งาน HANA Database ได้อย่างเต็มที่ ทำให้ลูกค้าได้รับผลประโยชน์สูงสุดในการลงทุน HANA Database

นอกจากนี้ยังมี Function ที่มีอยู่แล้วแต่มีความซับซ้อนมากขึ้นทำให้เพิ่มความละเอียดในการวางแผนช่วยให้ผู้ใช้เพิ่มความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีที่ดูรายงานเกี่ยวกับการวางแผนต่างๆ

3. ทำให้การย้ายข้อมูลไปยัง SAP S/4HANA ง่ายขึ้น

หากคุณเป็นผู้ใช้ SAP ERP คุณจะย้ายไปที่ S/4HANA หรือย้ายออกจาก SAP ทั้งหมด จะต้องคำนึงถึงเรื่องการ Implement BPC Embedded สามารถนำไปใช้งานในระบบ S/4HANA ได้หากมีการย้ายไปที่ S/4 HANA ในอนาคต หากเลือกที่จะใช้งาน ส่วน Financial Consolidation ของ SAP BPC ในตอนนี้ สามารถโอนย้ายไปใช้ในระบบ S/4HANA ได้ในอนาคต เพื่อที่จะใช้งานระบบ Real-Time Financial Consolidation โดยไม่ต้องทำการ Re-Implement ใหม่ทั้งหมด

ข้อควรระวัง BPC Standard ไม่สามารถ Migrate ไปเป็น BPC Embedded ได้ไม่ว่าจะใน S/4HANA หรือ BW/4HANA

4. การปรับปรุง Reporting Tools

BPC Embedded ใช้ Analysis for Microsoft Office (AO) ในขณะที่ BPC Standard ใช้ EPM Add-In ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจาก SAP ได้ลงทุนครั้งสำคัญในผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 นี้ ในปัจจุบันทาง SAP เลือกใช้ตัว Installation เดียวแต่สามารถติดตั้งได้ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ ทำให้นำไปสู่ความต้องการของทักษะที่แตกต่างกันในทีม Support และส่งผลต่อการ Training ให้กับ End User ด้วย สำหรับ Analysis for Office เป็นเครื่องมือประเภท Excel ที่เลือกใช้สำหรับการรายงานจาก BW จึงเป็นเหตุผลสำหรับการใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญนั้นให้กับผู้ใช้งาน BPC เพื่อความสะดวกได้มากกว่าเช่นกัน

5. ทำ Report ได้อย่างง่ายดายด้วยเครื่องมืออื่นๆ เพิ่มเติม

เครื่องมือ Front-End อื่นๆ เช่น Lumira, WebI, Design Studio เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถแสดงข้อมูลรายงานใน BPC Embedded Model ได้อย่างง่าย เพราะเป็น BW Object เหมือนกันซึ่งมีการทำงานในลักษณะเดียวกัน

6. ลดค่าใช้จ่ายทางด้าน Hardware

การใช้งาน BPC Embedded จะใช้หน่วยเก็บข้อมูล Backend กับ BW ดังนั้น ข้อมูลจึงถูกจัดเก็บเพียงครั้งเดียว เมื่อเทียบกับ BPC Standard ที่จะต้องย้ายข้อมูลบน BW ไปยัง BPC สรุปได้ว่า คุณจะมีค่าใช้จ่ายสำหรับ BPC Embedded เฉพาะพื้นที่เก็บข้อมูล HANA ของคุณเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

7. นวัตกรรมของ SAP

Roadmap ของ SAP มีความชัดเจนในขณะที่ BPC Standard นั้นทาง SAP ยังคง Support อยู่แต่การพัฒนา Feature ต่างๆ BPC Embedded ถูกให้ความสำคัญอย่างชัดเจน เช่นเดียวกันกับที่กล่าวมาในเรื่องของ EPM มีการปรับปรุงเพียงเล็กน้อยในขณะที่ Analysis for Microsoft Office (AO) ได้รับการปรับปรุงอย่างเป็นประจำ ดังนั้น ควรดูที่แผนงานของ SAP ว่า เราจะต้องโฟกัสและพัฒนาในส่วนไหนเพื่อมีสร้างแผนใช้งานอย่างตอบโจทย์ในระยะยาวได้

จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นน่าจะเพิ่มความชัดเจนและความมั่นใจให้กับทาง Consultant ว่า ทำไมจึงควรที่จะเลือกใช้ BPC Embedded ในการ Implement BPC มากกว่าที่จะใช้หรือแนะนำ BPC Standard ให้กับลูกค้าหรือองค์กรต่างๆ บทความทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะช่วยเหลือ Consultant หรือ องค์กรต่างๆ สำหรับการมองหาหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจที่จะเลือกระหว่าง BPC Standard หรือ BPC Embedded ซึ่งหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการที่ปรึกษาในส่วนของ BPC Implementation ทั้ง Standard หรือ Embedded

ทางบริษัท ZyGen มี Consultant Team ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ Implement BPC มาหลากหลาย Project เราพร้อมที่จะคอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจและองค์กรณ์ของท่านในระยะยาว สามารถติดต่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ SAP Business Planning and Consolidation (BPC)

Author: อริส ไทยประธาน


ทางบริษัทไซเจ็นยินดีให้คำปรึกษา และพัฒนาระบบด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์
ติดต่อ : คุณหทัยชนก (แคท)
โทร : 063-453-5391
Line : @ZYGEN (lin.ee/tAuBCKM)

แชร์ :
Scroll to Top