เปรียบเทียบ Virtual Space Platform vs Meeting Platform ต่างกันไหม ใช้อะไรดีกว่า? 

เคยสงสัยกันไหมว่า Virtual Space Platform และ Meeting Platform คืออะไร และเมื่อเปรียบเทียบการนำมาใช้งานแล้วจะมีความแตกต่างกันอย่างไร ก่อนจะตอบคำถามนี้ได้ วันนี้ทางทีมไซเจ็นได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาแชร์ให้กับทุกคนได้ศึกษาและเป็นส่วนตัดสินใจก่อนใช้งานจริงกัน 


Virtual Space Platform คือ พื้นที่เสมือนจริงแบบ 2D หรือ 3D ที่สร้างขึ้นบนโลกออนไลน์ สามารถเข้าถึงได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเข้าไปในพื้นที่เสมือน และทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับผู้ใช้งานคนอื่น ได้ เช่น การประชุม,VDO Call, แชร์ไฟล์, ส่งข้อความ, ดูวิดีโอ, เล่นเกม, แสดงผลงาน, เข้าถึง Data Dashboard ผ่านรูปแบบของออฟฟิศเสมือนหรือห้องเรียนเสมือน รวมไปถึงการจัดกิจกรรมขนาดใหญ่เช่น Art Gallery, Job Fair, Team Building โดยมีตัวอวตารของผู้ใช้งานเป็นตัวแทนในการสร้างปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับผู้ใช้คนอื่นๆ และสิ่งของต่างๆในโลกเสมือน 

ปัจจุบันในประเทศไทยมี Virtual Space Platform ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น Gather.town, ZEP, Spot Virtual เป็นต้น 

ตัวอย่าง Virtual Space (พื้นที่เสมือน) บน Gather.town 
ตัวอย่าง Virtual Space (พื้นที่เสมือน) บน ZEP 
ตัวอย่าง Virtual Space (พื้นที่เสมือน) บน Spot Virtual 

สำหรับพื้นที่เสมือนในปัจจุบันที่ได้รับความนิยม ส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้งานเพื่อเพิ่มมิติของการทำงานและการเข้าถึงลูกค้าในรูปแบบที่สะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึงจาก Gen ใหม่ๆ และยังมีการคาดการณ์ในอนาคตว่าจะมีการใช้งานเพิ่มมากขึ้นตามเทคโนโลยีและนโยบายการ WFH ของบริษัทอีกด้วย 

Meeting Platform คือ แพลตฟอร์มที่ใช้ในการประชุมด้วยเสียงและวิดีโอผ่านกล้องและไมค์ของอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเห็นและได้ยินผู้เข้าร่วมคนอื่นในกลุ่มได้ รวมไปถึงการแชร์หน้าจอ ส่งข้อความ ส่งไฟล์ ซึ่งบางแพลตฟอร์มสามารถบันทึกหน้าจอการประชุม เพิ่มตารางนัดหมายในปฏิทิน หรือปรับเปลี่ยนภาพพื้นหลังขณะเปิดกล้องสนทนาได้ด้วย ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มการประชุมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในไทย เช่น Microsoft Team, Zoom และ Google Meet เป็นต้น 

เมื่อนำ Platform ทั้งสองมาเปรียบเทียบกันแล้ว จะพบว่าทั้ง 2 ก็มีสิ่งที่คล้ายกันและสิง่ที่แตกต่างกันออกไป มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง 

สิ่งที่เหมือนกันระหว่าง Virtual Space กับ Meeting Platform

สามารถจัดการการประชุมได้ เพราะมีฟังก์ชัน Video Call พูดคุย แชร์หน้าจอ แชร์ไฟล์ ส่งข้อความถึงกันได้ และในประเด็นนี้จะดูเหมือน Meeting Platform จะใช้งานได้ดีกว่าตรงที่บาง Platform สามารถเพิ่มตารางนัดหมายในปฏิทินได้ อัดบันทึกหน้าจอขณะประชุมได้ ในขณะที่ Virtual Space Platform หลายๆ ตัวยังไม่สามารถอัดบันทึกได้ 

ข้อแตกต่างของ  Virtual Space กับ Meeting Platform

ตัว Virtual Space ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อรองรับการประชุมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสร้างพื้นที่เสมือนจริงเพื่อทำให้สัมผัสการใช้งานที่สมจริงมากขึ้น เช่น Remote Office, จัดงานสัมมนา, จัด Webinar, ห้องเรียนเสมือน หรือ งานอีเว้นต์ต่างๆ เป็นต้น รวมถึงพื้นที่ที่ให้ผู้ใช้ได้มาพูดคุย เล่นเกม จัดกิจกรรมสร้างเสริมความสัมพันธ์ แชร์ความรู้ โดยให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในสถานที่นั้นจริงๆ ให้ผู้ใช้ได้สร้างพื้นที่และกิจกรรมที่น่าสนใจ ยกระดับความสนุกสนานในการประชุมอย่างได้ไม่จำเจ รวมถึงยังคุยกันง่ายขึ้น ไม่ต้องนัดล่วงหน้า ไม่ดูเป็นการประชุมอย่างเป็นทางการที่เคร่งเครียดจนเกินไป 

จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นเพียงตัวอย่างคร่าวๆ ซึ่งยังมีอีกหลายฟีเจอร์ที่น่าสนใจที่ทำให้ Virtual Space แตกต่างกับ Meeting Platform ไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้ ยังมีแพลตฟอร์มอีกมากมายที่ไม่ได้ถูกพูดถึง  และทุกคนสามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม เพราะการเลือกใช้แฟลตฟอร์มเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ใช้งาน และจุดประสงค์ในการนำไปใช้งาน ว่าแพลตฟอร์มแบบใดจะตอบโจทย์การใช้งานได้มากกว่ากันนั่นเอง

หากต้องการปรึกษา หรือขอคำแนะนำในการประยุกต์ใช้งาน Virtual Space ให้เข้ากับหน่วยงานของคุณ ทีมงาน ZyGen เรามีผู้เชี่ยวชาญและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยเหลือ เริ่มต้นการประยุกต์ใช้งาน Step-by-Step สนใจติดต่อ ZyGen

Author: Apa J.

แชร์ :
Scroll to Top