SAP BPC (Financial consolidation) – ตอนที่ 2 การตัดรายการระหว่างกัน (Intercompany Eliminations)

การจัดทำงบการเงินรวม (Financial consolidation) เป็นการตัดรายการทางการเงินระหว่างบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยออกให้หมดเพื่อให้เหลือแต่รายการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกเท่านั้น ทำให้งบการเงินสะท้อนภาพผลประกอบการของกลุ่มกิจการให้เป็นกิจการเดียว

การตัดรายการระหว่างกันทางบัญชีมีความสำคัญมาก เพราะหากงบการเงินระหว่างบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยไม่ตัดรายการทางการเงินระหว่างกันออก จะทำให้งบบริษัทใดบริษัทหนึ่งอาจจะสูงหรือต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เช่น บริษัทแม่ซื้อสินค้าจากบริษัทลูก บริษัทแม่ก็จะมีงบการเงินที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น เป็นต้น

รายการระหว่างกันของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อย มีตัวอย่างดังนี้

  • ตัดบัญชีหุ้นกู้ระยะสั้นและเงินกู้ระยะยาว กับ บัญชีเงินลงทุนในหุ้นกู้ระยะสั้นและเงินกู้ระยะยาว
  • ตัดบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อย กับ ส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทย่อย
  • ตัดบัญชีเงินปันผลรับ และ เงินปันผลจ่าย
  • ตัดรายการสินทรัพย์ ค่าเสื่อมราคา
  • ตัดรายการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัท (ลูกหนี้ และ เจ้าหนี้ระหว่างกัน, รายได้ และ ค่าใช้จ่ายระหว่างกัน)

นอกจากนี้ ในกรณีที่มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม (non-controlling interest)  ให้แยกแสดงส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมไว้เป็นรายการหนึ่งต่างหาก ในงบการเงินรวมทั้งงบกำไรขาดทุนรวม ถ้าเป็นงบแสดงฐานะการเงินรวมให้แสดงส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมไว้ภายใต้ส่วนของผู้ถือหุ้น

สำหรับการตัดรายการทางบัญชีระหว่างบริษัท ในระบบ SAP BPC (Business planning & Consolidation) รองรับให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดรูปแบบการตัดรายการระหว่างกันได้ด้วยเครื่องมือหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น SAP BPC Business Rule เป็นต้น

รูปภาพ SAP BPC Business Rule

SAP BPC สามารถให้นักบัญชีสร้างเงื่อนไข การตัดรายการทางบัญชีระหว่างบริษัทได้ หลังจากนั้นในแต่ละเดือนระบ SAP BPC จะนำเงื่อนไขที่นักบัญชีกำหนดไว้มาใช้งาน ช่วยอำนวยความสะดวก ช่วยให้การทำงบการเงินรวมสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

Author : Thassaporn B.

ทางบริษัทไซเจ็นมีบริการติดตั้งระบบ SAP Business Planning & Consolidation รวมไปถึงการจัดอบรมการใช้งานเบื้องต้น สำหรับการนำไปใช้งานในองค์กรของท่าน หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่ด้านล่างนี้คะ


แชร์ :
Scroll to Top