ถ้าบริษัทของคุณมีการใช้งานระบบ SAP, เป็นไปได้ที่คุณจะเคยเจอเหตุการณ์เหล่านี้
- ข้อมูลทุกอย่างถูกใส่เข้าไปในระบบ SAP แต่หากต้องการที่จะวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมองที่ต่างออกไปจากรายงานที่มีอยู่เดิม (Business Reports) ก็ใช้เวลานานเพื่อพัฒนา
- มีระบบ SAP แต่ก็ยังมีข้อมูลหลายส่วนที่ผู้ใช้งานคุ้นเคยกับการเก็บข้อมูลภายนอกระบบ SAP (Data in Legacy System)
- มีการใช้งานระบบ SAP แค่บางแผนกเท่านั้น ทำให้ข้อมูลบางส่วนอยู่ภายนอกระบบ SAP ส่งผลให้การวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมต้องใช้เวลาในการรวมรวมข้อมูล
- จำนวนคนที่มีสิทธิ์เข้าใช้งานระบบ SAP มีจำนวนจำกัด
ประเด็นเหล่านี้ส่งผลต่อการวิเคราะห์ข้อมูล อีกทั้งยังส่งผลต่อทิศทางขององค์กรอย่างมาก สำหรับผู้ที่ใช้งาน SAP ต่างก็รู้ดีว่าในระบบ SAP มีข้อมูลทางธุรกิจที่มีค่ามาก และในปัจจุบันการนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์นั้นเริ่มมีความจำเป็น เพราะผู้ใช้งานเริ่มเข้ามาทั้งออนไลน์และออฟไลน์ การแก้ปัญหาเหล่านี้ และทำให้พนักงานได้เกิดการวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น เป็นสิ่งที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ
หากเราผลักดันให้พนักงานในองค์กร สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญของแผนกตัวเองได้ จะช่วยให้แต่ละส่วนงานย่อยๆ ตัดสินใจได้ถูกต้องรวดเร็วบนพื้นฐานของข้อมูลที่มีอยู่จริง ลองมาดูตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบ SAP ด้วย Tableau (ทาโบล์ว หรือ แท็บโบลว์) กันค่ะ
ตัวอย่าง การใช้ Tableau วิเคราะห์ข้อมูล SAP ส่วนการผลิต (Manufacturing)
ในกระบวนการผลิตจะประกอบไปด้วยหลายองค์ประกอบทั้ง Production Resource , BOM (Bill of Material) และ ขั้นตอนการผลิตต่างๆ การวิเคราะห์ให้เห็นถึง คุณภาพ ประสิทธิภาพ และ เวลา ด้วย Tableau จะช่วยให้องค์กรสามารถติดตามสภาวะเครื่องจักร ข้อมูลการผลิต และทำการแจ้งเตือน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ถึงปัญหาและรีบทำการแก้ไขโดยเร็วที่สุด
ตัวอย่าง การใช้ Tableau วิเคราะห์ข้อมูล SAP ส่วนบัญชี (Finance)
รายงานกำไร ขาดทุน (P&L Statement) เป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ โดย Tableau เองยังรองรับการดึงข้อมูลจาก SAP Financial Document, Controlling Document, etc. ขึ้นมา เพื่อให้ผู้บริหารวิเคราะห์ และหาทางเลือกจากสถานการณ์ต่างๆ (Scenario case) [โดยปรับค่าที่พื้นที่สีเหลืองและแสดงผลใน Chart Profit & Loss simulation ในรูปด้านล่าง)
นอกจากข้อมูลจากระบบ SAP แล้ว Tableau สามารถเชื่อมต่อกับหลากหลายที่มาของข้อมูล ในรูปด้านล่างเป็น Connectors ที่ Tableau Desktop 2020.1.2 รองรับ
Tableau สามารถเชื่อมต่อกับ SAP ได้ทั้งหมด 4 รูปแบบ
1. SAP HANA
เชื่อมต่อด้วยวิธีนี้จะรองรับการเชื่อมต่อกับ SAP Product ที่ใช้ HANA Database ได้หลาย Solutions เช่น SAP S/4HANA (ERP system), SAP BW/4HANA (Next-Generation Data Warehouse Solution)
Tableau ใช้ ODBC และ SQL สำหรับการเชื่อมต่อกับ HANA tables และ views ต่าง ๆ (Calculation Views, Analytics Views, etc.) โดย Tableau จะให้เราเลือก schema ที่ต้องการใช้งาน จากนั้นจึงทำการเลือก Tables หรือ View ที่ต้องดึงข้อมูลจาก schema นั้น ๆ
2. SAP NetWeaver Business Warehouse (SAP BW)
เชื่อมต่อด้วยวิธีนี้จะรองรับการเชื่อมต่อกับ SAP NetWeaver BW (data warehouse solution) หรือที่คุ้นเคยกันดีกับการใช้งานผ่าน SAP GUI และเข้าใช้งาน t-code RSA1 โดย Tableau เชื่อมต่อกับ SAP NetWeaver BW ด้วย OLE-DB for OLAP interface และ generate MDX queries โดย Tableau สามารถเชื่อมต่อเพื่อดึงข้อมูลจาก BEx Query ได้
3. SAP Sybase ASE
SAP Sybase ASE หรือ ชื่อเต็ม ๆ ก็คือ Sybase Adaptive Server Enterprise หรือที่เคยรู้จักกันในชื่อ Sybase SQL Server ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี 1995 โดยบริษัท Sybase และ SAP ได้เข้าซื้อบริษัท Sybase เมื่อปี 2010 อย่างไรก็ตาม SAP Sybase ASE ถือเป็น database server ที่ใช้สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีประวัติมายาวนาน
4. SAP Sybase IQ
SAP Sybase IQ หรือ SAP IQ เป็น database ที่ถูกออกแบบในรูปแบบ column-based database engine
มีหลายๆ บริษัทได้เห็นและเข้าใจ ข้อมูล SAP ขององค์กรตัวเองด้วยการเชื่อมต่อกับ Tableau (SAP and Tableau integration) พนักงานภายในองค์กรสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ด้วยตัวเอง (Self-service Analytics) ทำให้เห็นแนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้น (Trend), ความสัมพันธ์ของข้อมูล (Correlations) และ ข้อมูลที่ดูผิดปกติ (Outliers)
Author: Jirasak W., Sithipat F., Somsakda C., Thassaporn B.
Reference: tableau.com