หลายบริษัทที่ใช้ระบบ SAP ECC เริ่มมีความสนใจที่จะ Upgrade ไปเป็น SAP S/4HANA กันมากขึ้น เพราะ SAP S/4HANA เป็นเจเนเรชั่นใหม่ของ SAP Business Suite ที่มีประสิทธิภาพสูง มีความยืดหยุ่น สามารถประมวลผลได้รวดเร็วแบบ Real-Time และยังสามารถเชื่อมต่อธุรกิจกับโลกดิจิทัลด้วย IoT, Machine Learning หรือ Blockchain เป็นต้น นอกจากนั้น SAP S/4HANA ยังสามารถติดตั้งได้ทั้งแบบ On-Premise หรือ Cloud อีกด้วย
SAP ได้มีประกาศเกี่ยวกับการสนับสนุนแอปพลิเคชั่นหลักของ SAP Business Suite 7 โดยจะสิ้นสุดการสนับสนุนภายในสิ้นปี ค.ศ. 2027 แต่ลูกค้ายังสามารถซื้อการสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อขยายเวลาไปจนถึงภายในสิ้นปี ค.ศ. 2030 ได้ ซึ่งประกอบไปด้วย
- SAP ERP 6.0
- SAP Customer Relationship Management 7.0
- SAP Supply Chain Management 7.0
- SAP Supplier Relationship Management 7.0 applications
- SAP Business Suite powered by SAP HANA
SAP ECC vs SAP S/4HANA
หลายคนอาจสงสัยว่า SAP S/4HANA นั้นมีความสามารถอะไรบ้าง แล้วจะได้ประโยชน์อะไรจากการ Implement หรือ Upgrade มาเป็น SAP S/4HANA หรือมีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้างเมื่อเทียบกับ SAP ECC เรามาดูกันว่าหัวข้อหลักๆ ที่ SAP S/4HANA แตกต่างกับ SAP ECC นั้นมีอะไรบ้าง
SAP HANA Database
SAP S/4HANA สามารถใช้ได้เฉพาะ SAP HANA Database เท่านั้น แตกต่างกับ SAP ECC ที่สามารถใช้ได้ทั้ง SAP HANA, Oracle หรือ DB2 เป็นต้น
โดย SAP HANA Database จะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า In-memory Database ซึ่งจะเก็บข้อมูลที่ Main Memory (RAM) ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เก็บไว้ได้เร็วมากกว่า Database แบบเดิมๆ นอกจากนั้น SAP HANA ยังมีเทคนิคอื่นๆ ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น การเก็บข้อมูลแบบ Column Based, การบีบอัดข้อมูล (Compression) หรือการแบ่งพาร์ทิชั่น (Partitioning)
สำหรับ Custom Program ที่ถูกใช้งานอยู่ใน SAP ECC แล้วต้องการนำมาใช้ใน SAP S/4HANA นั้น ต้องมีการตรวจสอบว่าสามารถทำงานเข้ากันได้กับ SAP HANA หรือไม่ เช่น มีการใช้งาน Native SQL หรือ Database Hint ที่ยังอิงกับ Database แบบเดิมอยู่หรือไม่ เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจว่าโปรแกรมจะยังสามารถใช้งานได้ถูกต้องเหมือนเดิม
Simpler Data Model ใน SAP S/4HANA
ใน SAP S/4HANA ได้มีการออกแบบ Data Model ใหม่ เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้หลายๆ อย่างเปลี่ยนแปลงไปจาก SAP ECC เช่น
- Table ในการเก็บข้อมูลถูกเปลี่ยน (KONV, VBUK, VBUP, …)
- Table ถูกเปลี่ยนเป็น View (BSID, BSAD, …)
- Transaction Code ถูกเปลี่ยน (FD32, VKM1, …)
- Transaction Code ถูกยกเลิก (VKM2, VKM3, …)
- และอื่นๆ
โดยสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละเวอร์ชั่นของ SAP S/4HANA ซึ่งสามารถดูได้จาก Simplification List ของแต่ละเวอร์ชั่น
Figure: Simpler Data Model สำหรับ Inventory Management
หลายบริษัทได้เล็งเห็นถึงความสามารถของ SAP S/4HANA ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถต่อยอดในเรื่องต่างๆ ได้ดีและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ SAP S/4HANA ได้ถูกใช้งานมากขึ้นในปัจจุบันนั่นเอง
Author: Puriwit S.