Enterprise Resource Planning (ERP) คือซอฟต์แวร์หรือระบบที่ใช้ในการวางแผนทรัพยากรหลักขององค์กรทั้งในด้านการเงิน การผลิต การบริการ การจัดซื้อ และการดำเนินงาน Supply Chain ซึ่งระบบ ERP จะช่วยจัดการกระบวนการทั้งหมดให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เป็นที่นิยมในองค์กรไม่ว่าขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ก็ตาม ดังนั้นระบบ ERP ถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญอย่างยิ่งในขั้นตอนดำเนินธุรกิจ
ทำไมระบบ ERP ถึงมีความสำคัญต่อการทำงานในองค์กร
เนื่องจาก ERP เปรียบเสมือนระบบประสาทส่วนกลางขององค์กรธุรกิจ เข้ามาช่วยจัดการในส่วนที่จำเป็นของการดำเนินธุรกิจ ข้อมูลองค์กรส่วนใหญ่หรือทั้งหมดจะถูกจัดอยู่ในระบบ ERP เพื่อให้เป็นการรวบรวมข้อมูลจริงไว้ในที่เดียว
ระบบซอฟต์แวร์ ERP ที่แสดงให้เห็นกรณีการวางแผนทรัพยากรขององค์กรสำหรับการจัดหา และการจัดซื้อ
ตลอดจนการขาย Module ERP ทั่วไปยังระบุถึงการเงิน การผลิต และการดำเนินงาน Supply Chain
Module ของ SAP ERP มีอะไรบ้าง
1. การเงิน และบัญชี
การนำ Module ของ ERP เข้ามามีส่วนร่วมในงานด้านการเงิน และบัญชี สามารถช่วยให้ธุรกิจติดตามบัญชีเจ้าหนี้ Account Payable (AP) และลูกหนี้ Account Receivable (AR) ปิดบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างรายงานทางการเงิน ปฏิบัติตามมาตรฐานการรับรู้รายได้ ลดความเสี่ยงทางการเงินได้เป็นอย่างดี
2. การจัดการทรัพยากรบุคคล
ระบบ ERP ส่วนใหญ่จะมี Module สำหรับแผนก HR เพื่อใช้สำหรับจัดการเวลาในการเข้างาน การจ่ายเงินเดือน และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Capital Management (HCM) สามารถเชื่อมต่อกับ ERP และใช้งานฟังก์ชัน HR เพื่อวิเคราะห์กำลังคนไปจนถึงการจัดการประสบการณ์ของพนักงาน
3. การจัดหา และการจัดซื้อ
การนำ Module ของ ERP เข้ามามีส่วนร่วมในงานด้านการจัดหา และจัดซื้อสามารถช่วยให้ธุรกิจจัดหาวัสดุ และบริการสำหรับการผลิตสินค้า หรือสินค้าที่ต้องการขายส่ง ซึ่งจะทำการจัดซื้อได้โดยอัตโนมัติ รวมถึงการขอใบเสนอราคา การสร้างสัญญาซื้อขาย และการอนุมัติ สามารถลดการซื้อวัตถุดิบในการผลิตในจำนวนที่น้อยเกินและมากเกินไปได้ อีกทั้งยังช่วยในด้าน Supplier ด้วยการวิเคราะห์ที่ขับเคลื่อนด้วย Artificial Intelligence (AI) และเชื่อมต่อกับเครือข่ายผู้ซื้อได้อีกด้วย
4. ด้านการขาย
การนำ Module ของ ERP เข้ามามีส่วนร่วมในด้านการขายสามารถติดตามการสื่อสารกับผู้มีแนวโน้มที่จะเป็นลูกค้า และสามารถช่วยให้ตัวแทนได้ทราบถึงข้อมูลเชิงลึก เพื่อเพิ่มยอดขาย สร้างโอกาสในการขายตามเป้าหมายด้วยการส่งเสริมการขายที่เหมาะสม ประกอบด้วยฟังก์ชันสำหรับกระบวนการสั่งซื้อเป็นเงินสด รวมถึงการจัดการคำสั่งซื้อ สัญญา การเรียกเก็บเงิน การจัดการประสิทธิภาพการขาย และการสนับสนุนทีมขาย
5. ด้านการผลิต
การใช้ระบบ ERP เข้ามามีส่วนร่วมในด้านการผลิตสามารถวางแผนงาน ลดความซับซ้อนของกระบวนการผลิตที่ซ้ำๆ ถือว่าตอบโจทย์บริษัทที่จำเป็นต้องมีการผลิตจำนวนมากเป็นอย่างยิ่ง ซึ่ง ERP จะมีฟังก์ชันการวางแผนความต้องการวัสดุ Material Requirement Planning (MRP) การจัดตารางการผลิต การดำเนินการผลิต การจัดการคุณภาพได้อีกด้วย
6. การจัดการโลจิสติกส์ และ Supply Chain
เมื่อนำ ERP เข้ามามีบทบาทในงานด้านโลจิสติกส์จะทำให้สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้า และวัสดุสิ้นเปลืองตลอดการดำเนินงานทุกขั้นตอนขององค์กร ERP มีเครื่องมือสำหรับการจัดการสินค้าคงคลังแบบ Realtime การดำเนินงานคลังสินค้า การขนส่งโลจิสติกส์สามารถช่วยเพิ่มการมองเห็น และเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินงานได้
7. งานด้านบริการ
การนำ Module ของ ERP เข้ามาใช้งานในด้านการบริการช่วยให้องค์กร จะทำให้ส่งมอบการบริการที่น่าเชื่อถือได้ตามที่ลูกค้าคาดหวัง สามารถรวมเครื่องมือสำหรับการซ่อมภายในบริษัท อะไหล่ การจัดการบริการ กระแสรายได้ รวมไปถึงการวิเคราะห์เพื่อช่วยให้ตัวแทนบริการ และช่างเทคนิคสามารถแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาปัญหาของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
8. Research and Development (R&D) และวิศวกรรม
การนำ Module ของ ERP เข้ามามีส่วนร่วมในงานด้าน Research and Development (R&D) และในส่วนงานด้านวิศวกรรม จะช่วยให้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดการกระบวนการของผลิตภัณฑ์ Product Lifecycle Management (PLM) การปฏิบัติตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และช่วยในการวิเคราะห์ ตรวจสอบสถานะสินค้าได้ถูกต้อง
9. การจัดการสินทรัพย์ขององค์กร
ระบบ ERP สามารถรวม Module EAM ได้ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจที่เน้นสินทรัพย์และลดเวลาการทำงาน ให้เครื่องจักร และอุปกรณ์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีฟังก์ชันสำหรับการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ การจัดกำหนดการ การดำเนินงาน การวางแผนสินทรัพย์ สภาพแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย Environmental Health and Safety (EHS)
ระบบ ERP ที่ดีมีข้อดีหลายประการ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามการปรับใช้ระบบ พัฒนาระบบให้ตอบโจทย์องค์กรมากที่สุดจะส่งผลดีในการดำเนินงานเป็นอย่างมาก
ประโยชน์ของการนำ ERP เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงาน
- สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพแบบ Realtime และเพิ่มผลผลิตมากขึ้น
- สามารถติดตามธุรกิจ และการรายงานทางการเงินแบบรวดเร็ว
- ลดความเสี่ยง เพิ่มการมองเห็นในการควบคุมธุรกิจ
- สามารถคาดการณ์ได้
- ลดความซับซ้อนของงานด้านไอที
- มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
สำหรับ ERP เป็นระบบที่มีความสำคัญต่อการทำงานในองค์กรอย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่ SME, องค์กรขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งการพัฒนาระบบ ERP ของ SAP มีความยืดหยุ่นตอบโจทย์ทุกองค์กรอย่างมาก มีทั้ง On Premise ERP, On Cloud ERP หรือ Hybrid ERP โดยเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการของบริษัทได้เลยทีเดียว ซึ่งค่าใช้จ่ายในการ Implement ระบบจะสร้างสามารถคำนวณ ROI ก่อนพัฒนาระบบจริงได้ ดังนั้น การนำ ERP มาใช้ถือว่าเป็นระบบที่จะเข้ามาช่วยองค์กรบริษัทได้อย่างแท้จริง