SAP BPC (Financial Consolidation) – ตอนที่ 4 Consolidation Financial Statement คืออะไร ควรเริ่มทำจากอะไรดี?

“Consolidation Financial Statement (งบการเงินรวม)” คือ งบการเงินที่จะนำตัวเลขงบการเงินจากบริษัทย่อยในเครือเดียวกันมารวมเป็นงบการเงินเดียวหรือจะเป็นงบการเงินรวมที่เกิดจากบริษัทถือหุ้นกิจการอื่นแล้วนำงบของทุกๆ กิจการมารวมกัน โดยจะทำการหักรายการระหว่างกันออกนั่นเอง

โดยปกติแล้วบริษัทที่มีบริษัทลูกจำเป็นที่จะต้องนำงบการเงินมารวมให้เป็นงบเดียวตามกฏหมายในประเทศ ยกตัวอย่าง(ตามภาพ) เช่น บริษัท ZyGen Thailand (1000) เป็น บริษัท Holding มีบริษัทลูก 2 แห่ง คือ บริษัท ZyGen Singapore (3000) และ บริษัท ZyGen Philippines (4000) เป็นต้น สำหรับบริษัทที่มีบริษัทลูก ซึ่งบทความนี้ จะมาพูดถึงในเรื่องของ ขั้นตอนการทำงบการเงินรวม (Consolidation Process) นั้นจะต้องทำอย่างไรบ้าง? โดยขั้นตอนทั้งหมดนี้สามารถนำไปใช้กับ SAP BPC ได้ในทุกๆ เวอร์ชั่นซึ่งจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

การจัดเตรียม (Prepare)

ขั้นตอนการเตรียมการประกอบไปด้วยการตั้งค่าข้อมูล (Dimensions), การโหลดข้อมูลหลัก (Master data), สร้างกฏทางธุรกิจ (Business rules) และการกำหนดค่าความปลอดภัยใน Consolidation process  

รวบรวมข้อมูล (Collect)

รวบรวมข้อมูลผ่าน การป้อนข้อมูลด้วยตนเอง, การอัปโหลดไฟล์, SAP ERP, รายการ Journal หลังจากนั้นข้อมูลจะถูกตรวจสอบ (Data validation) และทำการแปลสกุลเงิน (Currency translation)

การรวมงบ (Consolidate)

ขั้นตอนการรวมจะทำการตัดรายการระหว่างกัน (Eliminations), การจัดประเภทข้อมูลใหม่ (Reclassification) และทำการตรวจสอบข้อมูล (Data validation)

จัดทำรายงาน (Report)

จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลผ่าน Enterprise Performance Management (EPM) ของExcel โดยนำ SAP Business Warehouse (SAP BW) และ Enterprise Resource Planning (SAP ERP) เข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูล และสามารถใช้ SAP BusinessObjects Dashboards เพื่อจัดทำรายงานงบการเงินได้อีกด้วย

เรามาดูกันว่าการปิดงบการเงินรวม (Financial Consolidation and Close Process) ในสิ้นเดือนนั้น มีขั้นตอนแบบละเอียดอย่างไรบ้าง สำหรับขั้นตอนการปิดงบการเงินรวมจะประกอบไปด้วยขั้นตอนในการทำงบรวมที่ได้มาจากกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process Flow: BPF) ดังนี้

ยอดยกมาตั้งต้น (Balance Carry Forward)

จุดนี้จะเป็นขั้นตอนแรกของการทำการปิดงบรวม คือ การบันทึกยอดยกมาที่เกิดขึ้นจากรอบบัญชีก่อนไปยังยอดตั้งต้นของบัญชีปัจจุบัน    

บันทึกข้อมูล (Import Actual)

จะเป็นการทำการบันทึกข้อมูลทางการเงินของเดือนปัจจุบันในแต่ละบริษัทในเครือเพื่อเข้าสู่กระบวนการวางแผน และการรวมบัญชี (Planning and Consolidation) 

การตรวจสอบข้อมูล (Data Validation)

ขั้นตอนนี้จะเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทางบัญชีของงบการเงินรายบริษัท (งบเดี่ยว)

การจัดประเภทข้อมูลใหม่ (Reclassifications)

เป็นการปรับรายการอัตโนมัติ ขั้นตอนนี้สามารถทำได้ในภายหลัง

บันทึกข้อมูล (Journals)

การบันทึกรายการปรับยอดเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของบริษัทโดยขั้นตอนนี้ สามารถทำในหลังภายหลังได้เช่นกัน

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ (Ownership data)

ทำการบันทึกรูปแบบและสัดส่วนความเป็นเจ้าของลงในฐานข้อมูล (Ownership model)

การแปลงสกุลเงิน (Currency Translation)

แปลงค่าสกุลเงินจากสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) เป็นสกุลเงินกลางของกลุ่มบริษัท (Group Currency) นั้นๆ หากจำเป็นจะต้องแปลงให้อยู่ในสกุลเงินเดียวกัน

การจับคู่รายการระหว่างกัน (Intercompany Matching)

บันทึก และตรวจสอบรายการระหว่างกันของแต่ละคู่บัญชีที่มีการซื้อขายกันระหว่างบริษัท

การตัดรายการระหว่างกัน (Intercompany Eliminations)

การตัดรายการซื้อขายระหว่างกันของแต่ละบริษัท รวมไปถึงการตัดรายการตามการถือครองหุ้นที่ไม่เต็มจำนวน

ตรวจสอบการรวมบัญชี (Consolidation Monitor)

การตรวจสอบการรวมบัญชีใช้ในการเรียกใช้งานการแปลงสกุลเงินกลุ่ม (Group currency) และ ใช้คำสั่งการตัดรายการความเป็นเจ้าของ (Ownership eliminations) เป็นต้น 

รายงานงบการเงินรวม (Publish the Group Financials)

เมื่อตรวจสอบความถูกต้องของงบการเงินรวม เรียบร้อยแล้ว จะสามารถเผยแพร่เป็นรายงานงบการเงิน (Financial statement)  ได้

สำหรับการทำงบการเงินรวม (Consolidation Process) นั้น อาจจะมีขั้นตอน และรายละเอียดทางธุรกิจที่แตกต่างกันตามบริบทของแต่ละองค์กร หากองค์กรใดที่กำลังมองหาที่ปรึกษา ผู้ดูแล หรือผู้พัฒนาระบบจัดทำงบการเงินรวม (Financial Consolidation) ทางบริษัทไซเจ็น (ZyGen) ขอเป็นอีกทางเลือก เพื่อนำ SAP Business Planning and Consolidation (SAP BPC) เข้ามาช่วยตอบโจทย์องค์กรของท่าน

Author: Supakarn P.

Reference : Basic Consolidation with SAP BPC


แชร์ :
Scroll to Top