Intelligent Automation สามารถช่วยจัดการงานแผนก Risk และ Compliance ของสถาบันการเงิน

ทำความรู้จัก Intelligent Automation (IA) ในสถาบันการเงิน 

ฝ่ายบริหารจัดการความเสี่ยง และฝ่ายกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Risk และ Compliance Department) ถือว่าเป็นฝ่ายที่อยู่แนวหน้า ในการรองรับแผนงานของสถาบันการเงิน ซึ่งมีส่วนช่วยในการช่วยในการเติบโตของธุรกิจการเงิน พวกเขาเป็นทีมที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตขององค์กร กับหน้าที่ในการตรวจสอบตามกฎของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ  

ในขณะเดียวกันความซับซ้อนของกฎระเบียบในการตรวจสอบนั้นเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ธนาคาร และสถาบันการเงินต่างก็ต้องปรับตัวตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงต้องรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน อย่างเช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศยูเครน  

เมื่อพูดถึงความท้าทายเหล่านี้ องค์กรต่างๆ มีการปรับตัวอย่างไร เพื่อที่จะให้การตรวจสอบธุรกรรมที่มีความเสี่ยงเป็นไปได้อย่างราบรื่น และไม่ต้องประสบกับความเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือค่าปรับจากการดำเนินการที่ผิดพลาด  

หนึ่งในคำตอบก็คือการใช้งานเทคโนโลนี Intelligent Automation (IA) ที่สามารถเข้ามาทำงานร่วมกับฝ่ายกำกับฯในส่วนงานที่ใช้ทั้งเวลา และ ทรัพยากรบุคคล อย่างเช่นกระบวนการ Know Your Customer (KYC) สำหรับลูกค้าใหม่ หรือการตรวจเช็คการฟอกเงิน (Anti -Money Laundering : AML)  

ทำไมในปัจจุบันถึงนำ Intelligent Automation เข้ามามีส่วนร่วมจัดการงานในสถาบันการเงิน 

จากการร่วมมือกับ International Compliance Association (ICA) ในการสัมภาษณ์ผู้ทำงานในสายงานนี้ 254 คน เกี่ยวกับการใช้งาน Intelligent Automation เป้าหมายเพื่อค้นหาความเข้าใจเกี่ยวกับ ข้อดีของการใช้งาน จำนวนองค์กรที่นำไปใช้งาน และสิ่งที่ขัดขวางไม่ให้องค์กรลงทุนใน Intelligent Automation  

ผลจากการสำรวจ พบว่ามีสัดส่วนที่มากของผู้ให้สัมภาษณ์ ซึ่งเป็นที่ผู้เชี่ยวชาญจากฝ่ายกำกับฯ ต้องเผชิญปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นจากที่เคยเป็นมากว่า 86% ได้รายงานตรงกันว่ามีปริมาณงานในการตรวจสอบเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก หรือ ค่อนข้างเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับ 2 ปีที่แล้ว และมีเพียง 3% ที่รายงานว่ามีปริมาณงานที่ต่ำลง หรือ ค่อนข้างต่ำลง แต่เมื่อถึงคำถามที่ว่า องค์กรของพวกเขา ดำเนินการอย่างไรกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นนี้ องค์กรส่วนใหญ่จะใช้วิธีเพิ่มขนาดฝ่ายกำกับฯ หรือ ให้งานเพิ่มกับทีมเดิมที่มีอยู่ และมีองค์กรน้อยกว่า 25% ที่เริ่มต้นการใช้งาน Intelligent Automation เพื่อลดงาน Manual และ เพิ่ม Productivity  

“ หลายองค์กรยังพึ่งพาการใช้ Email, Spreadsheets และกระบวนการแบบ Manual เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในด้าน Compliance ซึ่งแสดงให้เห็นว่าว่า องค์กรมีการใช้งานระบบอัตโนมัติน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ”   

Intelligent Automation ช่วยลดความผิดพลาดในการทำงานได้ 

ปัญหาของการที่องค์กรไม่ได้ลงทุนในด้าน RPA และ Intelligent Automation ต้นเหตุไม่ได้มาจากความคิดเห็นของฝ่ายกำกับฯต่อเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร  

ผลสำรวจนั้นแสดงว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันในผลลัพธ์ของการนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาช่วย โดย 81% เข้าใจถึงความสามารถในการช่วยลดความผิดพลาดของมนุษย์ได้ 79% เข้าใจถึงความสามารถในการช่วยลดเวลาในการทำงาน และ 53% เชื่อว่าสามารถเพิ่มประสบการณ์การทำงานของทีมงาน และลดปริมาณบุคลากรลงได้  

ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ยังกล่าวถึงกำแพงที่กั้นขวางการใช้งาน Intelligent Automation ภายในองค์กร นั่นก็คือ การขาดความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี RPA และ Intelligent Automation มีผู้ให้สัมภาษณ์ 7% กล่าวว่าแรงต่อต้านภายในจากฝ่ายกำกับฯนั้นเป็นสาเหตุ และ 21% กล่าวว่าเป็นสาเหตุมาจากบอร์ดบริหาร 

เนื่องจากบอร์ดบริหารมีหน้าที่ในการอนุมัติการลงทุนในการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ แรงต่อต้านที่สร้างให้เกิดความแตกแยกนี้ควรจะถูกจัดการ ก่อนที่ฝ่ายกำกับฯจะเริ่มต้นการใช้งาน Intelligent Automation เพื่อจัดการปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น ความแตกแยกนี้ยังเป็นส่วนสร้างความเสี่ยงให้กับองค์กร ในการปรับตัวเข้ากับสถาการณ์ใหม่ๆของตลาด และอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้การค้นหาบุคลากรที่มีความต้องการที่จะทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่เข้ามาร่วมงาน เป็นเรื่องที่ยากลำบาก  

ผลประโยชน์จากการใช้ระบบอัตโนมัติในธุรกิจการเงิน  

คำแนะนำสำหรับฝ่ายกำกับฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง คือการศึกษาและหาตัวอย่างการใช้งาน Intelligent Automation ของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ได้ทำกระบวนการอย่างเช่น KYC หรือ AML ถึงวิธีการและผลลัพธ์ที่ได้ เพื่อนำไปสื่อสารกับ ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ  

ประโยชน์ของการทำงานด้วย Intelligent Automation มีดังนี้ 

– เพิ่มความลดเร็วในการปฎิบัติงาน ลดการทำงานแบบ Manual และงานซ้ำๆ  
– เวลาที่ทีมงานได้คืนมา สามารถนำไปใช้ในการเพิ่มความสามารถได้ (Upskill)  
– เพิ่มโฟกัสให้กับพนักงาน  
– สร้างขั้นตอนที่โปร่งใสในการตรวจสอบการทำงาน  
– เพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบ และการสร้างรายงาน  
– เร่งเวลาในการตอบกลับ (Response Time) ให้กับฝ่ายกำกับฯ  

ไม่ว่าอะไรจะรออยู่ในอนาคตสำหรับอุตสาหกรรมการเงิน การสร้างความเข้าใจ ผสานความแตกแยก และเริ่มต้นใช้งานระบบอัตโนมัติ ในฝ่ายกำกับฯ นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อการเตรียมตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  

“ มันเป็นเรื่องแน่นอนที่ขั้นตอนในด้าน Compliance จะมีความซับซ้อนและมีปริมาณงานมากขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลที่มากขึ้น ซึ่งเป็นความท้าทายของหลายองค์กร ที่กำลังประสบกับแรงต่อต้านในการลงทุนกับเทคโนโลยี Automation ทั้งในเรื่องของงบประมาณ และ วัฒนธรรมองค์กร แต่อย่างไรก็ตาม ระบบอัตโนมัติ และ ระบบที่ดูแลจากศูนย์กลางเพื่อการจัดการข้อมูลด้าน Compliance นั้นเป็นหนทางที่เหมาะสมสำหรับองค์กรส่วนใหญ่ ”  

Pekka Dare 
(ICA Vice President)

Process Discovery & Assessment เป็นตัวช่วยที่สำคัญให้องค์กรประหยัดเวลาที่สุด ได้ผลตอบแทนหรือประโยชน์ที่คุ้มค่าที่สุด ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรขององค์กรที่เหมาะสมที่สุด

 

แชร์ :
Scroll to Top