7 ตัวอย่างการนำ SAP Business One เข้ามาใช้งานในองค์กรอย่างมีระบบ

ทำความรู้จักกับ SAP Business One คืออะไร 

SAP Business One เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ในองค์กร SME องค์กรขนาดเล็ก ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ ด้วยความสามารถของโปรแกรมจึงกลายเป็นหนึ่งในซอฟต์แวร์ ERP (Enterprise Resource Planning) โดยระบบการทำงานจะสามารถเชื่อมโยงงานแต่ละแผนกของธุรกิจเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นฟังก์ชันหลักใน SAP Business One เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

ประโยชน์ของการนำ SAP Business One เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงาน 

  • ติดตามธุรกิจ และการรายงานทางการเงินแบบรวดเร็ว 
  • ประหยัดเวลาในการดำเนินงาน 
  • ลดต้นทุนในการดำเนินงาน และเพิ่มกำไรมากยิ่งขึ้น 
  • ลดความซับซ้อนของงานด้านไอที 
  • ปรับใช้กับธุรกิจได้ทุกขนาด  
  • เพิ่มการตัดสินใจในการดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้น 


ทำไม SAP Business One ถึงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน 

เนื่องจาก SAP Business One เป็นซอฟต์แวร์โซลูชั่นครบวงจรที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และมีฟีเจอร์มากถึง 1,454 ฟีเจอร์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการพัฒนากระบวนการทำงานที่มีความซับซ้อนในองค์กรได้เป็นอย่างดี รองรับการใช้งานได้ทั้ง Online และ Offline โดยฟังก์ชันของระบบ SAP B1 สามารถใช้ข้อมูลทั้งหมดได้แบบ Realtime ครอบคลุมทุกกระบวนการทำงานในองค์กรธุรกิจ 


7 ตัวอย่างแผนกที่สามารถนำระบบ SAP Business One เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงาน ดังนี้ 

1.การเงินและการบัญชี (Financial and Accounting) 

การนำ SAP Business One เข้ามามีส่วนร่วมในงานด้านการเงินและการบัญชี โดยฟังก์ชันของ SAP B1 สามารถคำนวณค่าเฉลี่ยต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ สามารถสร้างรายงานทางการเงิน และแก้ไขบัญชีทางการเงินได้ หรือติดตามฐานข้อมูลบัญชีเจ้าหนี้ – ลูกหนี้ ลดความเสี่ยงทางการเงิน และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานได้เป็นอย่างดี 

2. การจัดการและทรัพยากรบุคคล (Management and Human Resources) 

ระบบ SAP Business One ซึ่งมี Module สำหรับแผนก HR เพื่อจัดการเวลาในการเข้างาน เมื่อนำเข้ามาใช้งานในการกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งาน สามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยระบบซอฟต์แวร์ ERP จะกำหนดให้มีการอนุมัติในทุกๆหน้าของ SAP Business One  

3. การผลิต (Manufacturing and Product) 

การใช้ฟีเจอร์บนระบบ SAP Business One มาพร้อมกับฟังก์ชันที่รองรับการวางแผนความต้องการวัสดุ รวมถึงการดำเนินการผลิต ลดความซับซ้อนของกระบวนการผลิตที่ซ้ำๆ เพื่อมองเห็นภาพรวมในการจัดการทรัพยากรให้เพียงพอต่อการผลิตกับองค์กรธุรกิจได้ 

4.สินค้าคงคลัง (Quality and Inventory) 

ฟังก์ชันของ SAP Business One มีระบบการจัดการสินค้าคงคลัง  ตัวช่วยในการกำหนดและควบคุมสินค้าที่มีจำนวนมาก เนื่องจากโซลูชั่น ERP สามารถกำหนดรายการสินค้า หรือติดตามสินค้าแบบ Realtime เพื่อแก้ปัญหาของสินค้าได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และสามารถตรวจสอบสถานะสินค้าได้อย่างแม่นยำ 

5.การจัดซื้อ (Purchasing) 

การนำ Module ของ SAP B1 เข้ามามีส่วนร่วมในงานด้านการจัดซื้อ สามารถช่วยให้ธุรกิจดำเนินการจัดหาวัสดุได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสามารถสร้างใบเสนอราคา หรือสร้างสัญญาซื้อขาย และทำการอนุมัติได้ โดยมีโซลูชั่นการจัดซื้อที่ทันสมัย ตอบโจทย์ในการดำเนินงานองค์กรในธุรกิจเป็นอย่างมาก 

6. การควบคุมคุณภาพ (Quality) 

โปรแกรมบน SAP Business One มีชุดเครื่องมือฟังก์ชันสำหรับการตรวจสอบกระบวนการดำเนินงานที่สำคัญๆ การปฎิบัติตามข้อกำหนด ลดเวลาการทำงานที่ซับซ้อน เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ได้อย่างรวดเร็ว 

7.การขาย (Sales) 

ในปัจจุบันการขายเหมาะสำหรับฟังก์ชันบนระบบ SAP Business One โดยมี Module สามารถบันทึกเอกสารสัญญา หรือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ทั้งรายวัน รายเดือน และรายปี เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายตามเป้าหมาย รวมถึงการจัดการคำสั่งซื้อ หรือการทำสัญญาคู่ค้า การเรียกเก็บเงิน การเก็บข้อมูลที่ครอบคลุม โดยฟังก์ชันของ SAP B1 สามารถสนับสนุนทีมขายได้ทันท่วงที 

สำหรับ SAP Business One เป็นระบบที่มีความสำคัญต่อกระบวนการทำงานในองค์กร เพิ่มการมองเห็นภาพรวมธุรกิจที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถควบคุมธุรกิจได้อย่างครอบคลุม เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ 

SAP B1 เหมาะสำหรับลูกค้าที่มองหาระบบ ERP ในการบริหารจัดการระบบบัญชี, ระบบสินค้าคงคลัง, ระบบการขายและลูกค้าสัมพันธ์, การผลิต, การจัดการงานโครงการ เพื่อให้การทำงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพจบครบในโปรแกรมเดียว

SAP Business One – Features, Functions & Modules List 

https://www3.technologyevaluation.com/selection-tools/features-list/31760/sap-business-one

แชร์ :
Scroll to Top