5 เทคนิคการสร้างอินเทอร์เฟสและโมเดลที่นิยมใช้บน SAP

ปัจจุบันการใช้งานระบบทุกระบบต้องมีการทำงานผ่าน User Interface เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดึงความสามารถของระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง SAP ได้มีการพัฒนา User Interface อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ใน ABAP Version 7.4 ที่ใช้ทำโปรแกรมแสดงผล  SAP GUI สู ABAP Version 7.5 ขึ้นไป หรือที่เรียกว่า ABAP Programming Model สำหรับ SAP Fiori ที่สามารถทำงานบน Browser ได้ พร้อมกับมีการนำ API (Application Program Interface) ที่เป็นกลไกสื่อกลางเพื่อช่วยให้โปรแกรมซอฟต์แวร์สองตัวสามารถส่งข้อมูลข้ามเซิร์ฟเวอร์กันได้มาใช้งาน โดยใช้ชุดคำจำกัดความและโปรโตคอลมาช่วยเสริม หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น เรียกว่า ABAP RESTful Programming Model ที่ใช้งานได้ทั้ง On-premise และ SAP Cloud Platform 

ABAP แต่ละ Version

สำหรับบทความนี้ ZyGen จะพูดถึงเครื่องมือ เทคนิคโมเดลที่พัฒนาในบริบทของอินเทอร์เฟสโครงสร้างพื้นฐาน และการรวมระบบใน SAP ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน


RFC 

         RFC หรือ Remote Function Call เป็น SAP Interface มาตรฐานที่มักถูกใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างแอปพลิเคชันของระบบต่างๆ ในระยะไกล โดยการทำงานของ RFC นั้นจะมี Client Server และ SAP Server โดยฝั่ง Client จะเรียกฟังก์ชันบนเซิร์ฟเวอร์ และดำเนินการบนระบบระยะไกล (RFC) เพื่อเชื่อมต่อกัน โดยทั้งสองเซิร์ฟเวอร์สามารถทำหน้าที่เป็น Client และ Server สลับกันได้ เพราะการเรียกใช้ฟังก์ชัน RFC เป็นแบบทำงานได้พร้อมกัน (Synchronous) 

         นอกจากนี้ RFC Interface ยังมาพร้อมกับ BAPI (Business Application Programming Interface) คือการเปิดเผย Business Object (BO) ต่อระบบภายนอก (ที่ไม่ใช่ SAP) ช่วยให้สามารถเรียกใช้ฟังก์ชันระหว่างระบบ SAP สองตัว กับระบบที่ไม่ใช่ SAP ได้ 

BAPI  

                  BAPI (Business Application Programming Interface) เป็นโมดูลฟังก์ชัน RFC ที่ช่วยให้แอปพลิเคชันหรือระบบภายนอก (ที่ไม่ใช่ SAP ) เข้าถึง ประมวลผล โยกย้าย และจัดเก็บข้อมูลใน SAP ได้ โดยแอปพลิเคชันภายนอกส่วนใหญ่สามารถสื่อสารกับ SAP ผ่านการใช้เกตเวย์ HTTP โดยหลักการทำงานของ BAPI จะอิงจากแนวคิด Object-Orientation ที่จะห่อหุ้มเลเยอร์ภายในของโมเดล Business Object (BO) ของ SAP เช่น คำสั่งซื้อ หรือข้อมูลลูกค้า เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่มีการเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลงใน Business Object จะได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง ด้วยการดำเนินการอย่างถูกต้อง

BAPI Model

   Object – Orientation 

IDOC

                  IDoc ย่อมาจาก Intermediate Document เป็นรูปแบบเอกสาร SAP สำหรับการถ่ายโอนข้อมูลธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างระบบ ทั้งระบบที่เป็น SAP กับ SAP และที่เป็น SAP กับระบบที่ไม่ใช่ SAP รูปแบบโครงสร้างของ IDoc ประกอบด้วยประเภทข้อมูลที่กำหนดความยาวและตำแหน่งของข้อมูล และยังแบ่งออกเป็นส่วนหัวข้อ ส่วนข้อมูล และสถานะของส่วนที่ถูกบันทึก โดยลักษณะการทำงานของ IDoc จะมีการเรียกใช้ฟังกชันแบบไม่พร้อมกัน (Asynchronous) ทำให้ผู้ส่งจะต้องสร้าง IDoc ด้วยข้อมูลตามข้อกำหนดประเภทของ IDoc แล้วจึงถ่ายโอนไปยังระบบที่ต้องการ ระบบที่รับจะรับ IDoc และบัฟเฟอร์การประมวลผล แล้วเอกสารจะได้รับการประมวลผลตามลำดับ กระบวนการนี้เป็นวิธีการสื่อสารที่ถูกใช้มาอย่างยาวนาน และได้รับการพิสูจน์ว่าทำงานได้เป็นอย่างดี IDoc จึงเหมาะสำหรับการถ่ายโอนข้อมูล Master Data และการบันทึกข้อมูล 

SOAP 

        SOAP Web Service หรือ SOAP (Simple Object Access Protocol) คือโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ใน Web Service ที่ช่วยในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Web Service และเป็นโปรโตคอลการสื่อสารในระดับ Application Layer (OSI layer) โดยอาศัยการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล หรือ HTTP ซึ่ง Client จะได้รับรายละเอียดของพารามิเตอร์และฟังก์ชันในรูปแบบ WSDL (Web Service Description Language) ทำให้สามารถดึงข้อมูลผ่าน URL ที่กำหนดได้ โดยอาศัยรูปแบบของภาษา XML (Extensible Markup Language) ช่วยให้ Web Services สามารถสื่อสารกันได้แม้ว่าจะอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์คนละแพลตฟอร์ม หรือพัฒนาด้วยภาษาโปรแกรมมิ่งที่ต่างกันก็ตาม โดย HTTP และ SMTP ยังเป็นโปรโตคอลที่นิยมใช้ร่วมกับการส่งผ่านข้อมูลบนระบบอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ SOAP ยังสามารถทำงานร่วมกับโปรโตคอลได้หลายชนิด เช่น HTTP, SMTP, FTP, IIOP เป็นต้น 

REST 

          REST ย่อมาจาก Representational State Transfer (REST) เป็นสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ที่กำหนดเงื่อนไขว่า API ควรทำงานอย่างไร และเป็นแนวทางในการจัดการการสื่อสารบนเครือข่ายที่ซับซ้อนเช่น อินเทอร์เน็ต ช่วยให้แอปพลิเคชันสองตัวขึ้นไปสามารถสื่อสารกันเองและส่งข้อมูลไปมาได้ โดยหลักการทำงานของ REST นั้นจะอยู่บนพื้นฐานของ HTTP Request ที่จะส่งคำขอไปยัง URI ที่กำหนด แล้วดึงคำตอบกลับมาในรูปแบบข้อมูลที่มนุษย์อ่านได้ (Human-readable Data) ในรูปแบบ JSON, XML หรือในรูปแบบอื่นๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว REST จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับ SOAP เนื่องจากมีการใช้พื้นฐาน HTTP เหมือนกันแต่ REST นั้นง่าย รวดเร็ว และประหยัดทรัพยากรมากกว่า นอกจากนี้ยังรองรับฟังก์ชัน CRUD (Create, Read, Update and Delete) อีกด้วย 

                         สรุปแล้วการพัฒนา SAP Interface สามารถทำได้หลากหลายขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรและข้อมูลในมือ แต่หากยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ SAP Interface หรือมีข้อสงสัย สามารถพูดคุยขอคำแนะนำเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่ ZyGen 

ปรึกษาระบบ SAP Interface กับ ZyGen ด้วยประสบการณ์ด้านการพัฒนาระบบ SAP Interface ที่ครอบคลุมทุก SAP Module หลัก อีกทั้งความเชี่ยวชาญในการใช้ Model หรือ Solution/Tool ต่างๆ ในการสร้าง SAP Interface Program ของหลากหลาย Legacy ดังรูป 

ตัวอย่าง Use Case การพัฒนา SAP Interface Program เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใน Business Process ดังนี้ 

Author: Chongkhom R.

Source:
https://blogs.sap.com/2021/02/13/ten-concepts-of-interface-and-integration-in-sap-from-evolution-point-of-view/
https://www.ibm.com/docs/en/bpm/8.5.6?topic=software-sap-interfaces 
https://gocoding.org/th

แชร์ :
Scroll to Top